คำถามที่สำคัญมาก



คำถามที่สำคัญมาก





คำถามที่สำคัญมาก

พระเยซูคริสต์เป็นใคร?




คำถาม: พระเยซูคริสต์เป็นใคร?

คำตอบ:
พระเยซูคริสต์เป็นใคร? ไม่เหมืิอนกับคำถามที่ว่า “พระเจ้ามีอยู่จริงไหม?” น้อยคนจะถามว่าพระเยซูคริสต์มีอยู่จริงไหม โดยทั่วไปผู้คนยอมรัับว่าพระเยซูคริสต์ทรงเป็นมนุษย์และทรงอยู่ในโลกนี้ที่ประเทศอิสราเอลเมื่อเกือบ2000 ปีที่ผ่านมา การถกเกิดขึ้นเมื่อหลักฐานแสดงตัวตนของพระองค์ถูกนำมาอภิปราย เกือบทุกศาสนามีหลักสอนว่าพระเยซูคืิอผู้เผยพระวจนะ หรืออาจารย์ที่ดี หรือคนที่เคร่งศาสนา ปัญหาคือ พระคัีมภีร์บอกเราว่าพระเยซูทรงเป็นมากกว่าผู้เผยพระวจนะ หรืออาจารย์ที่ดี หรือคนที่เคร่งศาสนาคนหนึ่ง

C.S. Lewis ผู้เขียนหนังสือ ชื่่อ คริสเตียนธรรมดา (Mere Christianity) เขียนว่า “ข้่าพเจ้าพยายามที่จะไม่ให้ใคร ๆ พูดอะไรโ่ง่ ๆ ที่คนชอบพูดกันเกี่ยวกับพระองค์ (พระเยซูคริสต์): เช่นว่า ฉัีนพร้อมที่จะยอมรับพระเยซูว่าเป็นผู้สอนทางด้านคุณธรรมที่ดี แต่รับไม่ได้กับการอ้างว่าทรงเป็นพระเจ้า” นี่เป็นอะไรที่เราไม่ควรพูด เพราะหากคนธรรมดา ๆ จะพูดอะไร ๆ มากมายหลายอย่าง อย่างที่พระเยซูคริสต์ตรัีส ไม่น่าจะเป็นอาจารย์ที่ดีได้ แต่น่าจะเป็นคนบ้ามากกว่า -- ระดับเดียวกับคนที่พูดว่าตัวเองเป็นไข่ต้ม -- หรือไม่ก็เป็นมารซาตานมาจากนรก คุณต้องเลือก หากพระองค์ไม่ใช่พระบุตรของพระเจ้า ก็จะต้องเป็นคนบ้าหรืออะไรที่แย่ยิ่งกว่านั้น… คุณสามารถมองว่าพระองค์ทรงเป็นคนโง่คนบ้่าคนหนึ่ง ถ่มน้ำลายรดพระองค์ แล้วปลงพระชนม์พระองค์ในฐานะมารซาตาน หรือซบลงแทบพระบาทของพระองค์แล้วเรียกพระองค์ว่าองค์พระผู้เป็นเจ้า แต่อย่าทำมาเป็นพูดเหลวไหลเลยว่าพระองค์ทรงเป็นอาจารย์ที่ดีคนหนึ่ง พระองค์ไม่ได้ให้ทรงเราเลือกแบบนั้น และไม่ได้ทรงตั้งพระทัยเช่นนั้น”

แล้วพระองค์ทรงอ้างว่าทรงเป็นผู้ใด? พระคัมภีร์บอกว่าพระองค์ทรงเป็นใคร? ประการแรกให้เราดูพระวจนะของพระเยซูในหนังสือยอห์น 10:30 “เรากับพระบิดาของเราเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน” เมื่อมองอย่างเผิน ๆ นี่อาจดูเหมือนว่าไม่ใช่การยอมรับว่าทรงเป็นพระเจ้า แต่ ให้เรามาดูกันที่ปฎิกริยาของชาวยิวต่อคำพูดประโยคนี้ “เราจะขว้างท่านมิใช่เพราะการกระทำดี แต่เพราะการพูดหมิ่นประมาท เพราะท่านเป็นเพียงมนุษย์แต่ตั้งตัวเป็นพระเจ้า” (ยอห์น 10:33) คนยิวเข้าใจดีว่าคำกล่้าวของพระเยซูคือการยอมรับว่าทรงเป็นพระเจ้า ในข้อพระคัมภีร์ข้อต่อ ๆ มา พระเยซูไม่ได้ทรงแก้ไขคำพูดของชาวยิวโดยปฏิเสธว่า “เราไม่ได้อ้างตัวว่าเป็นพระเจ้า” นั่นชี้ให้เห็นว่าพระเยซูตรัสว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าโดยการประกาศว่า “เรากับพระบิดาของเราเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน” (ยอห์น 10:30) ยอห์น 8:58 เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง “เราบอกความจริงแก่ท่านว่า ก่อนอับราฮัมบังเกิดมานั้นเราเป็น” อีกครั้งหนึ่งที่พวกยิวตอบโต้พระองค์ด้วยการหยิบก้อนหินขึ้นมาจะขว้างพระองค์ (ยอห์น 8:59) การประกาศหลักฐานแสดงตัวตนของพระองค์ว่า “เราเป็น” คือการนำพระนามที่ใช้เรียกพระเจ้าในพันธสัญญาเดิมมาใช้โดยตรง (อพยพ 3:14) ทำไมชาวยิวจึงต้องการเอาหินขว้างพระองค์อีก หากพระองค์ไม่ได้ตรัสอะไรบางอย่างที่พวกเขาคิดว่าเป็นการหมิ่นประมาทพระเจ้า ซึ่งก็คือ การอ้างพระองค์ว่าทรงเป็นพระเจ้า?

ยอห์น 1:1 กล่าวว่า “พระวาทะทรงเป็นพระเจ้า” ยอห์น 1:14 กล่าวว่า “พระวาทะได้ทรงสภาพของเนื้อหนัง” นี่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าพระเยซูทรงเป็นพระเจ้าในสภาพเนื้อหนัง สาวกโธมัสประกาศต่อหน้าพระเยซูว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ และพระเจ้าของข้าพระองค์” และพระองค์ไม่ได้ทรงแก้ไขเขา อัครสาวกยอห์นอธิบายเกี่ยวกับพระองค์ว่า “….พระเจ้าใหญ่ยิ่ง และพระเยซูคริสต์พระผู้ช่วยให้รอดของเรา” (ทิตัส 2:13) อัครสาวกเปโตรพูดอย่างเดียวกัน “…. พระเจ้าและพระเยซูคริสต์พระผู้ช่วยให้รอดของเราทั้งหลาย” พระเจ้าพระบิดาก็ทรงเป็นพยานเกี่ยวกับหลักฐานแสดงดัวตนของพระเยซูคริสต์เช่นกัน พระองค์ตรัสว่า “โอ พระเจ้าข้า พระที่นั่งของพระองค์ดำรงเป็นนิตย์และเป็นนิตย์ ธารพระกรแห่งอาณาจักรของพระองค์ก็เป็นธารพระกรเที่ยงธรรม” (สดุดี 45:6) คำเผยพระวจนะเกี่ยวกับพระเจ้าในพันธสัญญาเดิมกล่าวถึงความเป็นพระเจ้าของพระองค์ว่า “ด้วยมีเด็กคนหนึ่งเกิดมาเพื่อเรา มีบุตรชายคนหนึ่งประทานมาให้เรา และการปกครองจะอยู่ที่บ่าของท่าน และท่านจะเรียกนามของท่านว่า "ผู้ที่มหัศจรรย์ ที่ปรึกษา พระเจ้าผู้ทรงมหิทธิฤทธิ์ พระบิดานิรันดร์ องค์สันติราช" (อิสยาห์ 9:6)

C.S. Lewis ถกว่า การเลือกเชื่อว่าพระเยซูเป็นอาจารย์ที่ดีไม่ใช่ตัวเลือก เพราะพระองค์ประกาศอย่างชัดเจนโดยเราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้า ดังนั้น หากพระองค์ไม่ใช่พระเจ้า พระองค์ก็จะต้องเป็นจอมโกหก หากพระองค์ทรงเป็นนักโกหก พระองค์ก็จะต้องไม่ใช่ผู้เผยพระวจนะ หรืออาจารย์ที่ดี หรือ คนที่เคร่งศาสนา แน่นอน ในความพยายามที่จะอธิบายเกี่ยวกับพระเยซูของ “นักวิชาการ” สมัยใหม่ พวกเขาบอกว่า “พระเยซูองค์แท้จริงในประวัติศาสตร์” ไม่ได้ตรัสหลาย ๆ อย่างที่พระคัมภีร์พูดเกี่ยวกับพระองค์ เราเป็นใครกันที่จะมาเถียงพระวจนะของพระเจ้าเกี่ยวกับว่าพระเยซูตรัสและไม่ได้ตรัสอะไร “นักวิชาการ” ที่เกิดห่างจากพระเยซูตั้งสองพันปีจะรู้ดีว่าพระองค์ตรัสหรือไม่ได้ตรัสอะไรกว่าคนที่อยู่กับพระองค์ ปรนิบัติพระองค์ และ ได้รัีบการสอนจากพระองค์ได้อย่างไร? (ยอห์น 14:26)?

ทำไมคำถามเกี่ยวกับหลักฐานที่พิสูจน์ว่าพระเยซูทรงเป็นใครจึงสำคัญ? ทำไม่ถึงการที่พระเยซูทรงเป็นพระเจ้าหรือไม่จึงเป็นเรื่องสำคัีญ? เหตุผลที่สำคัญที่สุดก็คือ พระเยซูจะต้องทรงเป็นพระเจ้า หากไม่ใช่ การสิ้นพระชนมฺ์ของพระองค์ก็คงจะไม่เพียงพอที่จะไถ่บาปให้กับคนทั้งโลก (1 ยอห์น 2:2) มีพระเจ้าแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นที่ทรงสามารถจ่ายค่าจ้างที่ไม่มีที่สิ้นสุดได้ (โรม 5:8; 2 โครินธ์ 5:21) พระเยซูจะต้องทรงเป็นพระเจ้าเพื่อที่พระองค์จะได้ทรงไถ่บาปให้กับเราได้ พระองค์จะต้องทรงเป็นมนุษย์ เพื่อที่พระองค์จะทรงสิ้นพระชนม์ได้ เราจะรับความรอดได้ก็โดยความเชื่อในพระเยซูคริสต์เท่านั้น! ด้วยความเป็นพระเจ้าของพระองค์คือเหตุผลว่าทำไมพระองค์จึงทรงเป็นทางเดียวที่นำเราไปสู่ความรอด ด้วยความเป็นพระเจ้าของพระองค์คือเหตุผลว่าทำไม่พระองค์จึงทรงประกาศว่า “เราเป็นทางนั้น เป็นความจริง และเป็นชีวิต ไม่มีผู้ใดมาถึงพระบิดาได้นอกจากมาทางเรา” (ยอห์น 14:6)





พระเยซูคริสต์เป็นใคร?

พระเจ้าทรงดำรงอยู่หรือไม่? มีหลักฐานอะไรบ้างที่พิสูจน์ว่าพระเจ้าทรงดำรงอยู่?




คำถาม: พระเจ้าทรงดำรงอยู่หรือไม่? มีหลักฐานอะไรบ้างที่พิสูจน์ว่าพระเจ้าทรงดำรงอยู่?

คำตอบ:
พระเจ้าทรงดำรงอยู่หรือไม่? ข้าพเจ้าคิดว่ามันเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่มีคนสนใจเรื่องนี้มาก จากการสำรวจเราได้พบว่ามีคนมากกว่า 90% ในโลกนี้เชื่อว่าพระเจ้าทรงดำรงอยู่ และมีสิ่งศักดิสิทธิ์เบื้องบน แต่อย่างไรก็ตาม มันกลายเป็นความรับผิดชอบของผู้ที่เชื่อว่าพระเจ้าทรงดำรงอยู่ ที่จะต้องพิสูจน์เรื่องนี้ั สำหรับข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าคิดว่ามันควรเป็นเรื่องที่กลับกัน

อย่างไรก็ตาม การที่พระเจ้าทรงดำรงอยู่ ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องพิสูจน์หรือไม่พิสูจน์ พระคัมภีร์เน้นว่าเราต้องยอมรับโดยความเชื่อว่าพระจ้าืทรงดำรงอยู่, “แต่ถ้าไม่มีความเชื่อแล้ว จะเป็นที่พอพระทัยของพระองค์ก็ไม่ได้เลย เพราะว่าผู้ที่จะมาหาพระเจ้าได้นั้นต้องเชื่อว่าพระองค์ทรงดำรงพระชนม์อยู่ และพระองค์ทรงเป็นผู้ประทานบำเหน็จให้แก่ทุกคนที่ปลงใจแสวงหาพระองค์” (ฮีบรู 11:6). หากพระเจ้าทรงมีพระประสงค์ สิ่งที่พระองค์ต้องทรงทำก็เพียงแค่ปรากฎพระองค์และพิสูจน์ให้โลกรู้ว่าพระองค์ทรงดำรงพระชนม์อยู่เท่านั้น แต่หากพระองค์ทรงทำเช่นนั้น เราก็ไม่จำเป็นจะต้องมีความเชื่อ “พระเยซูตรัสกับเขาว่า ‘เพราะท่านได้เห็นเราท่านจึงเชื่อ ผู้ที่ไม่เห็นเราแต่เชื่อก็เป็นสุข’” (ยอห์น 20:29)

อย่างไรก็ตามนั่นไม่ได้หมายความว่า ไม่มีหลักฐานว่าพระเจ้าทรงดำรงอยู่ พระคัมภีร์ประกาศว่า “ฟ้าสวรรค์ประกาศสง่าราศีของพระเจ้า และภาคพื้นฟ้าสำแดงพระหัตถกิจของพระองค์ วันส่งถ้อยคำให้แก่วัน และคืนแจ้งความรู้ให้แก่คืน วาจาไม่มี ถ้อยคำก็ไม่มีและไม่มีใครได้ยินเสียงฟ้า ถึงกระนั้นเสียงฟ้าก็ออกไปทั่วแผ่นดินโลก และถ้อยคำก็แพร่ไปถึงสุดปลายพิภพ พระองค์ทรงตั้งพลับพลาไว้ให้ดวงอาทิตย์ ณ ที่นั้น” (สดุดี 19:1-4) เมื่อมองดูดาว เมื่อเข้าใจถึงความไพศาลของจักรวาล ความมหัีศจรรย์ของธรรมชาติ ความงามของดวงอาทิตย์ยามอัศดง - ทั้งสิ้นเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงการทรงสร้างของพระเจ้าทั้งสิ้น หากนี่ยังไม่พอ ยังมีหลักฐานอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับพระเจ้าที่อยู่ในใจของเรา ข้อพระคัมภีร์ปัญญาจารย์ 3:11 กล่าวว่า “พระองค์ทรงกระทำให้สรรพสิ่งงดงามตามฤดูกาลของมัน พระองค์ทรงบรรจุโลกไว้ในจิตใจของมนุษย์ เพื่อมนุษย์จะมองไม่เห็นว่าพระเจ้าทรงกระทำอะไรไว้ตั้งแต่เดิมจนกาลสุดปลาย” เนื่องจากมีคนมากกว่า 98% ตลอดทั่วประวัติศาสตร์ ทั่้ววัฒนธรรม ทั่วความเจริญ ทั่วทุกทวีป เชื่อว่ามีพระอะไรสักอย่างหนึ่งที่ดำรงอยู่ - ต้องมีอะไรบางอย่าง (หรือใครบางคน) ทำให้เกิดมีความเชื่อเช่นนี้ขึ้น

ข้อโต้แย้งของพระคัมภีร์ที่ยืนยันว่าพระเจ้าทรงดำรงอยู่ มีหลายประการที่สมเหตุสมผล ประการแรกเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับธรรมชาติของชีวิตและความจริง ข้อโต้แย้งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ การใช้แนวความคิดเกี่ยวกับพระเจ้าพิสูจน์การทรงดำรงอยู่ของพระองค์ โดยเริ่มจากการให้คำจำกัดความเกี่ยวกับพระเจ้าว่า “ซึ่งไม่มีอะไรเหนือไปจากนี้สามารถถือกำเนิดขึ้นมาได้” แล้วกล่าวต่อไปว่าการดำรงอยู่ดีกว่าการไม่ดำรงอยู่ ดังนั้นสิ่งมีชีวิตสูงสุดจึงต้องดำรงอยู่ เพราะฉะนั้นหากพระเจ้าไม่ได้ทรงดำรงพระชนม์อยู่ พระิองค์ก็ทรงไม่ใช่สิ่งมีชีวิตสูงสุด – ซึ่งหมายความว่าข้อคิดนี้ขัดกับคำจำกัดความที่ทฤษฎีนี้ให้ไว้ข้างต้นเกี่ยวกับพระเจ้า ข้อโต้แย้งประการที่สองมาจาก ทฤษฎีที่เชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นด้วยมีวัตถุประสงค์พิเศษ ทฤษฎีนี้โต้ว่าเนื่องจากจักรวาลได้แสดงให้เห็นถึงการออกแบบอันน่าอัศจรรย์ ดังนั้นจึงจะต้องมีผู้ออกแบบจากเบื้องบน ยกตัวอย่างเช่น หากโลกจะอยู่ใกล้หรือไกลจากดวงอาทิตย์อีกสักสองหรือสามร้อยไมล์ ชีวิตก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างที่เป็นอยู่ หากองค์ประกอบหลักในบรรยากาศจะแตกต่างออกไปสักสองสามเปอร์เซ็นต์จากที่เป็นอยู่ สิ่งมีชีวิตก็จะอยู่ไม่ได้ โอกาสที่โมเลกุลของโปรตีนจะเกิดขึ้นโดยบังเอินมีอยู่ 1 ใน 10243 (นั่นคือเลข 10 ตามด้วย เลข 0 243 ตัว) เซลล์หนึ่งเซลล์ ประกอบด้วยโมเลกุลของโปรตีนเป็นล้าน ๆ เซลล์

ทฤษฏีที่สามที่โต้เกี่ยวกับการดำรงอยู่ของพระเจ้า คือ ทฤษฎีความเป็นระเบียบและกฎเกณฑ์ของจักรวาล ทฤษฎีนี้บอกว่าผลทุกอย่างเกิดจากเหตุ จักรวาลและทุกสิ่งในนั้นคือผล ดังนั้นจะต้องมีอะไรบางอย่างที่ก่อให้เกิดการกำเนิดและดำรงอยู่ จะต้องมีอะไรบางอย่างที่ “เป็นเหตุ” ที่เป็นต้นกำเนิดของทุกสิ่ง อะไรบางอย่างซี่ง “เป็นเหตุ” ก็คือพระเจ้านั่นเอง ข้อถกประการที่สี่เป็นที่รู้จักกันดีในนามของ ทฤษฎีทางด้านคุณธรรม วัฒนธรรมทุกวัฒนธรรมในโลกมีรูปแบบของกฎเกณฑ์บางอย่าง ทุกคนมีจิตสำนึกว่าอะไรถูกอะไรผิด การฆ่า การโกหก การขโมย และการกระทำที่ผิดศีลธรรม ไม่เป็นที่ยอมรับของทั่วโลก ความรู้สำนึกว่าอะไรถูกอะไรผิดมาจากไหนถ้าไม่ได้มาจากพระเจ้าผู้ทรงบริสุทธิ์

นอกเหนือไปจากข้อโต้แย้งเหล่านี้แล้ว พระคัีมภีร์กล่่าวว่าผู้คนจะปฎิเสธความรู้ที่ชัดเจนและเข้าใจง่ายเกี่ยวกับพระเจ้า และหันไปเชื่อการโกหกแทน ข้อพระคัมภีร์โรม 1:25 กล่าวว่า “เขาได้เปลี่ยนความจริงของพระเจ้าให้เป็นความเท็จ และได้นมัสการและปรนนิบัติสิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้างไว้แทนพระองค์ผู้ทรงสร้าง ผู้สมจะได้รับความสรรเสริญเป็นนิตย์ เอเมน” นอกจากนั้นพระคัมภีร์ยังได้ประกาศว่า มนุษย์ไม่มีข้ออ้างเลยที่จะไม่เชื่ิอพระเจ้า “ตั้งแต่เริ่มสร้างโลกมาแล้ว สภาพที่ไม่ปรากฏของพระองค์นั้น คือฤทธานุภาพอันนิรันดร์และเทวสภาพของพระเจ้า ก็ได้ปรากฏชัดในสรรพสิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ฉะนั้นเขาทั้งหลายจึงไม่มีข้อแก้ตัวเลย”

มีคนมากมายอ้างว่้าเขาไม่เชื่อพระเจ้าเพราะมัน “พิสูจน์ไม่ได้ทางวิทยาศาสตร์” หรือ “ไม่มีข้อพิสูจน์” แต่เหตุผลที่แท้จริงก็คือ เมื่อเขายอมรับว่ามีพระเจ้า เขาจะต้องตระหนักว่าพระเจ้าคอยเฝ้ามองเขาอยู่ และเขาต้องการการให้อภัยจากพระองค์ (โรม 3:23; 6:23) หากพระเจ้าทรงดำรงอยู่ เราก็จะต้องรับผิดชอบการกระทำของเราต่อพระองค์ หากพระเจ้าไม่มีจริง เราก็สามารถทำอะไรก็ได้ตามต้องการโดยไม่ต้องห่วงว่าพระองค์จะทรงพิพากษาเราหรือไม่ เพื่อให้เขามีทางที่จะไม่เลือกพระเจ้าผู้ทรงสร้าง ข้าพเจ้าเชื่อว่านี่คือเหตุผลว่าทำไมคนมากมายในสังคมจึงยึดมั่นกับทฤษฎีวิวัฒนาการของมนุษย์อย่างเอาจริงเอาจัง พระเจ้ามีจริง และจริง ๆ แล้วข้าพเจ้ารู้ว่าทุกคนรู้ว่าพระองค์ทรงดำรงอยู่จริง ในที่สุด การเถียงกันเพื่อที่จะไม่ยอมรับว่าพระองค์ทรงดำรงอยู่ คือ การเถียงกันเพื่อชี้ให้เห็นว่าพระองค์ทรงดำรงอยู่นั่นเอง

ข้าพเจ้าขออนุญาตแสดงความเห็นข้อสุดท้ายเกี่ยวกับการทรงอยู่ของพระเจ้า ว่าข้าพเจ้ารู้ได้อย่างไรว่าพระเจ้ามีจริง ข้าพเจ้ารู้เพราะข้าพเจ้าพูดกับพระองค์ทุกวัน ข้าพเจ้าไม่ได้ยินเสียงของพระองค์ก็จริง แต่สัมผัสได้ถึงการทรงสถิตย์ของพระองค์ ข้าพเจ้าสำผัสถึงการทรงนำของพระองค์ รู้ได้ถึงความรักของพระองค์ ข้าพเจ้าปรารถนาพระคุณของพระองค์ มีหลายอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตของข้าพเจ้าที่ไม่มีคำตอบใดที่สามารถอธิบายได้นอกจากพระเจ้า พระเจ้าทรงช่วยข้าพเจ้าให้รอด และทรงเปลี่ยนแปลงชีวิตของข้าพเจ้าได้อย่างอัศจรรย์ จนกระทั่งข้าพเจ้าไม่สามารถทำอะไรได้นอกจากจะยอมรับและสรรเสริญการทรงอยู่ของพระองค์ สิ่งที่พูดมาทั้งหมดโดยตัวของมันเองไม่สามารถจะโน้มน้าวใจใคร (ผู้ไม่ยอมรับในสิ่งที่เป็นเรื่องง่าย ๆ และชัดเจน) ให้เชื่อได้เลย ในที่สุดแล้ว การทรงอยู่ของพระเจ้าต้องได้รับการยอมรับด้วยความเชื่อ (ฮีบรู 11:6) ความเชื่อในพระเจ้าไม่ใช่การกระโดดออกไปในความมืดอย่างไม่รู้ว่ามีอะไรอยู่เบื้องหน้า แต่เป็นการก้าวออกไปอย่างปลอดภัยสู่ห้องที่เต็มไปด้วยแสงสว่างที่มีผู้คนกว่า 90% อยู่ในนั้นแล้ว.





พระเจ้าทรงดำรงอยู่หรือไม่? มีหลักฐานอะไรบ้างที่พิสูจน์ว่าพระเจ้าทรงดำรงอยู่?

พระเยซูทรงเป็นพระเจ้าใช่หรือไม่? พระเยซูเคยอ้างว่าทรงเป็นพระเจ้าใช่หรือไม่?




คำถาม: พระเยซูทรงเป็นพระเจ้าใช่หรือไม่? พระเยซูเคยอ้างว่าทรงเป็นพระเจ้าใช่หรือไม่?

คำตอบ:
พระคัมภีร์ไม่เคยบันทึกไว้ว่าพระเยซูได้ตรัสว่า “เราเป็นพระเจ้า” แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า พระองค์ไม่ได้ยอมรับว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้า ให้เราลองมาดูพระวจนะของพระองค์ในข้อพระคัมภีร์ยอห์น 10:30 กัน “เรากับพระบิดาของเราเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน” เมื่อมองในแวบแรก มันอาจจะดูไม่เหมือนว่าเป็นการยอมรับว่าทรงเป็นพระเจ้า แต่จงดูว่าว่าชาวยิวมีปฎิกริยาอย่างไรต่อคำกล่าวนี้ “พวกยิวทูลตอบพระองค์ว่า เราจะขว้างท่านมิใช่เพราะการกระทำดี แต่เพราะการพูดหมิ่นประมาท เพราะท่านเป็นเพียงมนุษย์แต่ตั้งตัวเป็นพระเจ้า”(ยอห์น 10:33) คนยิวเข้าใจดีว่าคำตรัสของพระเยซูเป็นการยอมรับว่าทรงเป็นพระเจ้า ในข้อพระคัมภีร์ต่อไปนี้พระเยซูทรงไม่เคยแก้ตัวกับชาวยิวโดยตรัสว่า “เราไม่ได้อ้างตัวว่าเป็นพระเจ้า” นี่แสดงให้เห็นว่าพระเยซูทรงยอมรับจริง ๆ ว่าทรงเป็นพระเจ้าโดยการประกาศว่า “เรากับพระบิดาของเราเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน” (ยอห์น 10:30) ข้อพระคัมภีร์ยอห์น 8:58 เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง “พระเยซูตรัสกับเขาว่า "เราบอกความจริงแก่ท่านว่า ก่อนอับราฮัมบังเกิดมานั้นเราเป็น" อีกครั้งหนึ่งที่ชาวยิวตอบโต้ด้วยการหยิบก้อนหินขึ้นมาเพื่อจะขว้างพระองค์ (ยอห์น 8:59) ทำไมชาวยิวจึงต้องการที่จะขว้่างพระองค์หากพระองค์ไม่ได้ตรัสอะไรบางอย่างที่เป็นการหมิ่นประมาทพระนามของพระเจ้า เช่น การกล่าวว่าทรงเป็นพระเจ้า?

ยอห์น 1:1 กล่าวว่า “พระวาทะทรงเป็นพระเจ้า” ยอห์น 1:14 กล่าวว่า “พระวาทะได้ทรงสภาพของเนื้อหนัง” ข้อพระคัมภีร์นี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่าพระเยซูืทรงเป็นพระเจ้าในสภาพของเนื้อหนัง หนังสือกิจการ 20:28 บอกเราว่า “… จงบำรุงเลี้ยงคริสตจักรของพระเจ้า ที่พระองค์ทรงไถ่ด้วยพระโลหิตของพระองค์เอง” ใครทรงไถ่คริสตจักรด้วยพระโลหิตของพระองค์? พระเยซูคริสต์ หนังสือกิจการ 20:28 ประกาศว่าพระเจ้าทรงซื้อคริสตจักรไว้ด้วยพระโลหิตของพระองค์เอง ดังนั้น พระเยซูคือพระเจ้า!

สาวกโธมัสประกาศเกี่ยวกับพระเยซูว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ และพระเจ้าของข้า” (ยอห์น 20:28) พระเยซูทรงไม่โต้แย้งคำกล่าวนั้น พระเยซูทรงไม่ได้แก้ไขคำพูดของเขา ข้อพระคัมภีร์ทิตัส 2:13 หนุนใจให้เราคอยพระเจ้าและพระผู้ช่วยให้รอดของเรา – พระเยซูคริสต์ – (ดู 2 เปโตร 1:1) พระบิดาทรงประกาศเกี่ยวกับพระเยซูว่า “แต่เกี่ยวก้บพระบุตร พระองค์ตรัสว่า “โอ พระเจ้าข้า พระที่นั่งของพระองค์ดำรงเป็นนิตย์และเป็นนิตย์ ธารพระกรแห่ง อาณาจักรของพระองค์ก็เป็นธารพระกรเที่ยงธรรม” (สดุดี 45:6)

ในหนังสือวิวรณ์ ทูตสวรรค์บอกให้อัครสาวกยอห์นนมัสการแต่พระเจ้าเท่านั้น (วิวรณ์ 19:10) หลายครั้งในพระคัมภีร์พระเยซูทรงได้รับการนมัสการ (มัทธิว 2:11; 14:33; 28:9,17; ลูกา 24:52; ยอห์น 9:38) พระองค์ทรงไม่เคยว่ากล่าวผู้ที่นมัสการพระองค์ หากพระเยซูไม่ใช่พระเจ้า พระองค์คงจะต้องบอกผู้คนไม่ให้นมัสการพระองค์ ดัีงเช่นที่ทูตสวรรค์ได้บอกไว้ในหนังสือวิวรณ์ ยังมีข้อพระคัีมภีร์อื่น ๆ อีกมากในพระคัมภีร์ที่ถกถึงความเป็นพระเจ้าของพระเยซู

เหตุผลที่สำคัญที่สุดที่แสดงว่าพระเยซูจะต้องเป็นพระเจ้่า คือ หากพระองค์ไม่ใช่พระเจ้าแล้่ว การสิ้นพระชนม์ของพระองค์ก็คงไม่มีเพียงพอที่จะเป็นค่าไถ่สำหรับความบาปของคนทั้งโลก (1 ยอห์น 2:2) มีแต่พระเจ้าเท่านั้นที่สามารถจ่ายค่าไถ่สำหรับโทษที่ไม่มีวันหมดได้ มีแต่เพียงพระเจ้าเท่านั้นที่สามารถรับแบกบาปของโลกทั้งโลกไว้ที่พระองค์๋ได้ (1 ยอห์น 2:2) ทรงสิ้นพระชนม์ แล้วทรงฟื้นคืนพระชนม์ -- เพื่อพิสูจน์ถึงชัึยชนะเหนือความบาปและความตาย





พระเยซูทรงเป็นพระเจ้าใช่หรือไม่? พระเยซูเคยอ้างว่าทรงเป็นพระเจ้าใช่หรือไม่?

พระลักษณะของพระเจ้าเป็นอย่างไร? พระเจ้าทรงเป็นแบบไหน?




คำถาม: พระลักษณะของพระเจ้าเป็นอย่างไร? พระเจ้าทรงเป็นแบบไหน?

คำตอบ:
ในการพยายามตอบคำถามนี้ ข่าวดีคือมีอะไรมากมายที่เราสามารถค้นพบได้เกี่ยวกับพระเจ้า! หากผู้ที่ค้นหาคำตอบนี้จะอ่านคำตอบทั้งหมดเสียก่อน แล้วจึงค่อยกลับไปเปิดดูข้อพระคัมภีร์ที่เกี่ยวข้องที่หลังเพื่อจะได้เข้าใจมากขึ้นก็น่าจะดีกว่า การอ้างอิงข้อพระคัมภีร์เป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะหากไม่มีพระคัมภีร์แล้ว คำตอบที่ได้ก็คงจะเป็นแต่เพียงความเห็นของมนุษย์ธรรมดา ๆ เท่านั้นเอง ซึ่งโดยตัวของมันเองแล้วมักจะไม่ถูกต้องเมื่อพูดถึงการทำความเข้าใจพระเจ้า (โยบ 42:7) การที่จะบอกว่า การพยายามเข้่าใจว่าพระเจ้าทรงเป็นแบบไหนเป็นเรื่องสำคัญยิ่งสำหรับเรา เป็นการพูดที่ด้อยค่าเกินไปเสียด้วยซ้ำ้ไป! การไม่พยายามเข้าใจพระลักษณะของพระเจ้า ทำให้เรามีแนวโน้มที่จะ สร้าง วิ่งตาม และกราบไหว้บูชา พระเทียมเท็จอื่น ๆ ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับน้ำพระทัยของพระเจ้า(อพยพ 20:3-5)

เราสามารถรู้จักพระเจ้าได้มากเท่าที่พระองค์จะทรงมีพระประสงค์ที่จะให้เรารู้เท่านั้น พระลักษณะ หรือคุณสมบัติอย่างหนึ่งของพระองค์คืิอ “ความสว่าง” ซึ่งหมายความว่า พระองค์ทรงแสดงความเป็นพระองค์ออกมาเอง (อิสยาห์ 60:19, ยากอบ 1:17) ความจริงที่ว่าพระเจ้าไ้ด้ทรงเปิดเผยความรู้เกี่ยวกับพระองค์เป็นความจริงที่เราไม่ควรเพิกเฉย เพื่อที่จะไม่มีผู้ใดในพวกเราเข้าไม่ถึงที่อันสงบสุขของพระองค์ (ฮีบรู 4:1) การทรงสร้าง, พระคัมภีร์, และ พระวาทะที่ทรงเป็นพระเจ้า (พระเยซูคริสต์) จะช่วยให้เรารู้ว่าพระเจ้าทรงเป็นแบบไหน

ให้เราเริ่มด้วยการทำความเข้าใจก่อนว่าพระเจ้าคือพระผู้สร้างของเรา และเราเป็นส่วนหนึ่งของการทรงสร้าง (ปฐมกาล 1:1, สดุดี 24:1) พระเจ้าตรัสว่ามนุษย์ถูกสร้างขึ้นมาตามพระฉายของพระองค์ มนุษย์อยู่เหนือสรรพสิ่งทั้งปวงที่ทรงสร้างขึ้นมา และได้รับสิทธิอำนาจใหัครอบครองเหนืิอสิ่งเหล่านั้น (ปฐมกาล 1:26-28) สิ่งที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นเกิดมีมลทินอันเนื่องมาจาก “การล้มลงในความบาป” แต่ก็ยังฉายแววของฝีพระหัตถ์ของพระองค์ให้เห็นอยู่ (ปฐมกาล 3:17-18; โรม 1:19-20) เมื่อพิจารณาถึงสิ่งที่ทรงสร้างที่มหึมามหาศาล, ความสลับซับซ้อน, ความงาม และความเป็นระเบียบเรียบร้อย ของมัน เราสามารถสัมผัสถึงความน่ายำเกรงของพระเจ้าได้

การได้เห็นพระนามบางพระนามของพระเจ้าจะช่วยให้เรารู้ดีขึ้นว่าพระเจ้าทรงมีพระลักษณะแบบไหน ดังตัวอย่างต่อไปนี้:

เอโลฮิม - พระผู้ทรงเข้มแข็ง, พระผู้เป็นเจ้า
อโดนาย - จอมเจ้านาย, แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างนายและทาสผู้รับใช้ (อพยพ 4:10, 13)
เอล เำอลยอน - พระผู้ยิ่งใหญ่สูงสุด, พระผู้ทรงเข้มแข็งสูงสุด (ปฐมกาล 14:20)
เอล โรอัย - พระผู้ทรงเข้มแข็งผู้ทรงเห็น (ปฐมกาล 16:13)
เอล ชัดดาย - พระเจ้าผู้ทรงพลังสูงสุด (ปฐมกาล 17:1)
เอล โอลาม - พระเจ้าผู้ทรงดำรงอยู่นิจนิรันดร์ (อิสยาห์ 40:28)
ยาห์เวห์ - “เราเป็น” หมายถึงการทรงดำรงอยู่ด้วยต้วของพระองค์เองชั่วนิรันดร์ (อพยพ 3:13, 14)

ให้เรามาดูกันต่อไปถึงพระลักษณะของพระเจ้า; พระเจ้าทรงเป็นนิรันดร์ ซึ่งหมายความว่าการดำรงอยู่ของพระองค์ไม่มีเบื้องต้น เบื้องปลาย และไม่มีที่สิ้นสุด พระองค์ทรงเป็นองค์อมตะ ไร้จุดจบ (เฉลยธรรมบัญญัติ 33:27; สดุดี 90:2; 1 ทิโมธี 1:17) พระเจ้าทรงเป็นองค์ถาวร ซึ่งหมายถึง พระองค์ทรงไม่เปลี่ยนแปลง นั่นหมาย ความว่า เราสามารถวางใจ และ เชื่อถือพระองค์ได้ (มาลาคี 3:6; กันดารวิถี 23:19; สดุดี 102:26, 27) ไม่มีใครสามารถเทียบเท่าพระเจ้าได้ ซึ่งหมายความว่า ไม่มีใครเสมอเหมือนพระองค์ทั้งในด้านการกระทำและความเป็นตัวตนของพระองค์ พระองค์ทรงบริบูรณ์พร้อม (2 ซามูเอล 7:22; สดุดี 86:8; อิสยาห์ 40:25; มัทธิว 5:48) ไม่มีใครสามารถเข้าใจพระเจ้าได้ ซึ่งหมายความว่า ไม่มีใครหยั่งถึงพระองค์ได้ ไม่มีใครตรวจค้นพระองค์ได้ พระองค์ทรงอยู่เหนือความเข้าใจทั้งสิ้นของเรา (อิสยาห์ 40:28; สดุดี 145:3; โรม 11:33,34).

พระเจ้าทรงยุติธรรม ซึ่งหมายความว่าพระองค์ทรงไม่เข้าข้างหรือเลือกที่รักมักที่ชังใคร (เฉลยธรรมบัญญัติ 32:4; สดุดี 18:30) ทรงมีฤทธิอำนาจสูงสุด พระองค์ทรงสามารถทำทุกสิ่งได้ตามความพอพระทัย แต่การกระทำของพระองค์จะสอดคล้องกับพระลักษณะอื่น ๆ ของพระองค์เสมอ (วิวรณ์ 19:6; เยเรมีห์ 32:17,27) พระเจ้าทรงสถิตย์อยู่ทั่วทุกหนทุกแห่งในเวลาเดียวกัน แต่ไม่ได้หมายความว่าพระองค์ทรงเป็นทุกสิ่ง (สดุดี 139:7-13; เยเรมีห์ 23:23) พระเจ้าทรงสัพพัญญูญาณู ซึ่งหมายความว่าทรงรู้ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ทรงรู้แม้กระทั่งความคิดของเราในขณะนั้น ดังนั้น เมื่อทรงรู้ทุกสิ่ง ความยุติธรรมของพระองค์จึงยุติธรรม (สดุดี 139:1-5; สุภาษิต 5:21)

พระเจ้าทรงเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งหมายความว่า ไม่เพียงแต่ไม่มีใครอื่นใดอีกแล้วเท่านั้น แต่ พระองค์คือผู้เดียวที่ทรงสามารถตอบสนองความต้องการส่วนลึกที่สุดและความโหยหาในหัวใจของเราได้ พระองค์ผู้เดียวเท่านั้นที่ทรงสมควรที่จะได้รับการนมัสการและความจงรักภักดี (เฉลยธรรมบัญญัติ 6:4) พระเจ้าทรงชอบธรรม ซึ่งหมายความว่าพระองค์ทรงไม่สามารถและไม่มีวันเมินเฉยต่อการกระทำที่ผิดได้ ดังนั้น อันเนื่องมาจากความยุติธรรมและเที่ยงธรรมของพระองค์นี่เองที่เราทั้งหลายจะได้รับการให้อภัยบาป พระเยซูจึงทรงต้องรับการพิพากษาจากพระเจ้า เมื่อทรงรับความบาปของเราไปไว้ที่พระองค์ (อพยพ 9:27; มัทธิว 27:45-46; โรม 3:21-26).

พระเจ้าทรงยิ่งใหญ่สูงสุด ซึ่งหมายความว่าพระองค์เป็นใหญ่เหนือสิ่งอื่นใด; แม้เิอาทุกสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างเข้ามารวมไว้ด้วยกัน ด้วยรู้หรือไม่รู้ก็ตามที ก็ยังไม่สามารถขวางน้ำพระทัยของพระองค์ได้ (สดุดี 93:1; 95:3; เยเรมีย์ 23:20) พระเจ้าทรงเป็นพระวิญญาณ ซึ่งหมายความว่าเราไม่สามารถมองเห็นพระองค์ได้ (ยอห์น 1:18; 4:24) พระเจ้าทรงเป็นตรีเอกานุภาพ หมายความว่าพระองค์ทรงเป็นสามพระภาคในพระองค์เอง ทรงเสมอเหมือนกันหมด เท่าเทียมกันหมดในฤทธิอำนาจและพระสิริ จงสังเกตุว่าในข้อพระคัมภึร์ย่อหน้าแรก “พระนาม” ที่กล่าวถึง เป็นเอกพจน์ ทั้ง ๆ ที่เป็นการกล่าวถึงพระภาคทั้งสาม คือ “พระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์” (มัทธิว 28:19; มาระโก 1:9-11) พระเจ้าทรงเป็นความสัตย์จริง ซึ่งหมายความว่าพระองค์ทรงกลมกลืนในความเป็นพระองค์ ไม่มีใครติดสินบนพระองค์ได้ และทรงกล่าวเท็จไม่ได้ ((สดุดี 117:2; 1 ซามูเอล 15:29)

พระเจ้าทรงบริสุทธิ์ ซึ่งหมายความว่าพระองค์ทรงห่างไกลจากมลทินทางด้านคุณธรรมทั้งปวง และทรงไม่เล่นกับมัน ความชั่วร้ายทำให้พระองค์กริ้ว พระคัมภีร์พูดถึงไฟควบคู่ไปกับความบริสุทธิ์ พระคัมภีร์กล่าวว่าพระเจ้าทรงเป็นพระเพลิงที่เผาผลาญ (อิสยาห์ 6:3; ฮะบากุก 1:13; อพยพ 3:2,4,5; ฮีบรู 12:29) พระเจ้าทรงสง่างาม ซึ่งรวมไปถึงความดีงาม ความเมตตากรุณา และความรัก คำเหล่านี้ซึ่งชี้ให้เห็นถึงความหมายของคำว่าความดีงามของพระองค์ หากไม่ใช่เพราะพระคุณของพระองค์แล้ว พระลักษณะที่เหลือคงทำให้เราเข้าถึงพระองค์ไม่ได้เป็นแน่ ขอบคุณพระเจ้าที่มันไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะพระองค์ทรงปรารถนาที่จะรู้จักเราแต่ละคนเป็นการส่วนตัว (อพยพ 34:6; สดุดี 31:19; 1 เปโตร 1:3; ยอห์น 3:16; ยอห์น 17:3)

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงความพยายามอย่างเจียมตนในการตอบคำถามมหึมาขนาดพระเจ้า ขอหนุนใจให้ผู้อ่านจงแสวงหาพระองค์ต่อไป (เยเรมีย์ 29:13).





พระลักษณะของพระเจ้าเป็นอย่างไร? พระเจ้าทรงเป็นแบบไหน?

พระคัมภีร์คือพระวจนะของพระเจ้าจริงหรือไม่?




คำถาม: พระคัมภีร์คือพระวจนะของพระเจ้าจริงหรือไม่?

คำตอบ:
คำตอบของเราสำหรับคำถามนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นตัวกำหนดว่าเรามีมุมมองต่อพระคัมภีร์อย่างไร และพระคัมภีร์มีความสำคัญต่อชีวิตของเราอย่างไรเท่านั้น แต่จะมีผลต่อชีวิตของเราตลอดไปด้วย หากพระคัมภีร์เป็นพระวจนะของพระเจ้าอย่างแน่นอนแล้ว เราควรจะต้องหวงแหน ศึกษา เชื่อฟัง และ เหนือสิ่งอื่นใด เราต้องวางใจในพระคัมภีร์ หากพระคัมภีร์เป็นพระวจนะของพระเจ้าแล้ว การปฏิเสธพระคัมภีร์คือการปฏิเสธพระเจ้านั่นเอง

ความเป็นจริงที่ว่าพระเจ้าทรงมอบพระคัมภีร์ให้กับเรา คือ พยานหลักฐานและการแสดงถึงความรักของพระองค์ต่อเรา คำว่า “การเปิดเผยสำแดง” มีความหมายง่าย ๆ ว่า พระเจ้าทรงสื่อให้มนุษย์รู้ว่าพระองค์ทรงมีพระลักษณะอย่างไร และเราจะสามารถมีความสัมพันธ์ที่ถูกต้องกับพระองค์ได้อย่างไร มีบางอย่างที่เราไม่อาจจะรู้ได้เลยหากพระองค์ทรงไม่เปิดเผยสำแดงผ่านทางพระคัมภีร์ให้เราได้รู้ แม้ว่าการเปิดเผยทีละเล็กละน้อยจะใช้เวลาประมาณ1500 ปี แต่ตลอดมา พระคัมภีร์นั้นมีทุกอย่างที่มนุษย์ต้องการรู้เกี่ยวกับพระเจ้าเสมอ เพื่อให้เราได้มีความสัมพันธ์ที่ถูกต้องกับพระองค์ หากพระคัมภีร์เป็นพระวจนะของพระเจ้าอย่างแน่นอนแล้ว มันจะต้องเป็นสิทธิอำนาจสูงสุดที่เราต้องยึดถือในทุกกรณีที่เกี่ยวกับความเชื่อ การปฏิบัติทางศาสนา และ คุณธรรม

คำถามที่เราต้องถามตัวเอง คือ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าพระคัมภีร์คือพระวจนะของพระเจ้า ไม่ใช่แค่หนังสือดี ๆ เล่มหนึ่งเท่านั้น? อะไรคือเอกลักษณ์ของพระคัมภีร์ที่ทำให้พระคัมภีร์แตกต่างจากหนังสืออื่น ๆ ที่เกี่ยวกับศาสนา เท่าที่เคยได้มีการเขียนขึ้นมา? มีหลักฐานอะไรบ้างที่แสดงให้เห็นว่าพระคัมภีร์คือพระวจนะของพระเจ้าอย่างแท้จริง? นี่เป็นคำถามที่เราต้องพิจารณาหากเราต้องการค้นหาอย่างจริงจัง ตามคำยืนยันว่ามันคือพระวจนะล้วน ๆ ของพระเจ้าที่ได้ถูกเขียนขึ้นมาโดยได้รับการดลใจจากพระองค์, และเพียงพอสำหรับความเชื่อและการปฏิบัติในทุกแง่มุม

ไม่ต้องมีอะไรให้สงสัยเลยว่าพระคัมภีร์ยืนยันแน่นอนว่าพระคัมภีร์เป็นพระวจนะของพระเจ้า การยืนยันนี้เห็นได้ชัดเจนจากข้อพระคัมภีร์เช่น 2 ทิโมธี 3:15-17 “… และตั้งแต่เด็กมาแล้ว ที่ท่านได้รู้พระคัมภีร์อันบริสุทธิ์ ซึ่งมีฤทธิ์สอนท่านให้ได้ปัญญาถึงความรอดโดยความเชื่อในพระเยซูคริสต์ พระคัมภีร์ทุกตอนได้รับการดลใจจากพระเจ้า และเป็นประโยชน์ในการสอน การตักเตือนว่ากล่าว การปรับปรุงแก้ไขคนให้ดี และการอบรมในเรื่องความชอบธรรม”

เพื่อที่จะตอบคำถามเหล่านี้ได้ เราต้องดูหลักฐานทั้งภายในและภายนอกที่บอกว่าพระคัมภีร์คือพระวจนะของพระเจ้่า หลักฐานภายในคือสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นเรื่องภายในสำหรับพระคัมภีร์เองที่เป็นพยานถึงต้นกำเนิดที่มาจากพระเจ้า หนึ่งในหลักฐานต้น ๆ ที่บ่งชี้ว่าพระคัมภีร์คือพระวจนะของพระเจ้าโดยแท้จริงปรากฏอยู่ในความสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกันของพระคัมภีร์ ถึงแม้ว่าพระคัมภีร์จะประกอบด้วยหนังสือถึงหกสิบหกเล่ม เขียนจากสามทวีป จากสามภาษา ภายใต้ช่วงเวลาถึง 1500 ปี โดยผู้เขียนมากกว่า 40 คน (จากหลายพื้นเพ) พระคัมภีร์ยังคงดำรงค์ไว้ซึ่งความสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตั้งแต่ต้นจนจบโดยไม่ขัดแย้งกันเลย ความสอดคล้องนี้คือเอกลักษณ์ที่ทำให้พระคัมภีร์แตกต่างไปจากหนังสือฉบับอื่น ๆ และคือประจักษ์ฺพยานถึงต้นกำเนิดของถ้อยคำ ซึ่งมาจากการดลใจของพระองค์ ให้มนุษย์บันทึกไว้่โดยไม่มีอะไรแปลกปลอมอยู่เลย

ประจักษ์พยานภายในอีกประการหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าพระคัมภีร์คือพระวจนะของพระเจ้าโดยแท้จริง คือ คำพยากรณ์อย่างละเอียดที่ถูกบันทึกไว้ในหน้าต่าง ๆ ของพระคัมภีร์ พระคัมภีร์บันทึกคำพยากรณ์เป็นร้อย ๆ ที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับอนาคตของบรรดาประชาชาติต่าง ๆ รวมถึงประชาชาติอิสราเอล, เมืองบางเมือง, อนาคตของมนุษย์, และ การเสด็จมาของผู้หนึ่งผู้จะทรงเป็นพระเมษสิยาห์, พระผู้ช่วยให้รอดของชนชาติที่ไม่เพียงแต่ชนชาติิอิสราเอลเท่านั้น แต่ของทุกคนที่เชื่อในพระองค์ด้วย ไม่เหมือนกับคำพยากรณ์ในหนังสือเกี่ยวกับศาสนาเล่มอื่น ๆ หรือคำพยากรณ์ของนอสตราดามุส, คำพยากรณ์ในพระคัมภีร์มีรายละเอียดชัดเจนและไม่เคยไม่เกิดขึ้่น แค่ในพันธสัญญาเดิมอย่างเดียว พระคัมภีร์มีคำพยากรณ์เกี่ยวกับพระเยซูคริสต์กว่าสามร้อยคำพยากรณ์ มันไม่เพียงแต่กล่าวล่วงหน้าว่าพระองค์จะทรงมาบังเกิดที่ไหน กับครอบคร้วไหน แต่ยังบอกว่าพระองค์จะทรงสิ้นพระชนม์อย่างไร และจะทรงฟื้นคืนพระชนม์ภายในสามวันอีกด้วย ไม่มีคำอธิบายใดที่สามารถบอกได้ว่า ทำไมคำพยากรณ์ในพระคัมภีร์จึงสำเร็จเป็นจริง นอกจากจะบอกว่า เพราะมันมีต้นกำเนิดมาจากพระเจ้า ไม่มีหนังสือทางด้านศาสนาเล่มไหนที่มีคำพยากรณ์อย่างละเอียด เหมือนพระคัมภีร์มี

ประจักษ์พยานภายในประการที่สามเกี่ยวกับต้นกำเนิดของพระคัมภีร์ว่ามาจากพระเจ้าอย่างแท้จริง คือ สิทธิำำอำนาจและพลังที่เป็นเอกลักษณ์ ถึงแม้ว่าประจักษ์พยานนี้จะเป็นรูปธรรมน้อยกว่าสองพยานแรก แต่มัีนก็ทรงพลังไม่น้อยกว่ากันในการชี้ให้เห็นว่าพระคัมภีึร์มีต้นกำเนิดมาจากพระเ้จ้า พระคัมภีร์มีสิทธิอำนาจที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนหนังสือเล่มไหนทั้งสิ้น สิทธิอำนาจและพลังนี้เห็นได้ชัดเจนจากการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของผู้คนนับไม่ถ้วนที่ได้อ่านพระคัมภีร์ ผู้ที่ติดยาได้รับการบำบัดรักษา, ผู้ที่เล่นรักร่วมเพศได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระ, คนที่ย่ำแย่, คนที่ขาดความรับผิดชอบต่อครอบครัว ได้รับการเปลี่ยนแปลง, อาชญากรใจหินได้รับการเปลี่ยนแปลง, คนบาปไ้ด้รับการว่ากล่าวตักเตือน, และความเกลียดชังถูกเปลี่ยนเป็นความรัก โดยการอ่านพระคัมภีร์ พระคัมภีร์มีพลังที่สามารถเปลี่ยนแปลงผู้คนได้ เพราะพระคัมภีร์คือพระวจนะของพระเจ้า

นอกจากหลักฐานภายในแล้ว ยังมีหลักฐานภายนอกอีกหลายอย่างที่แสดงให้เห็นว่าพระคัมภีร์คือพระวจนะของพระเจ้าอย่างแท้จริง หนึ่งในหลักฐานเหล่านั้นคือ สถานที่ทางประวัติศาสตร์ในพระคัมภีร์ เพราะพระคัมภีร์กล่าวถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ไว้อย่างละเอียด ดังนั้น ความเป็นจริงและความถูกต้อง ต้องได้รับการยืนยัน เช่นเดียวกับเหตุการณ์ในประวัติศาตร์อื่น ๆ จากหลักฐานต่าง ๆ ทางโบราณคดี และ ที่มีบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่พระคัมภีร์บันทึกไว้ ได้รับการพิสูจน์ครั้งแล้วครั้งเล่าว่าถูกต้องและเป็นความจริง อันที่จริงหลักฐานทางโบราณคดี และ หลักฐานที่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ที่สนับสนุนพระคัมภีร์ ทำให้พระคัมภีร์เป็นหนังสือที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ ความจริงที่ว่าพระคัมภีร์ได้บันทึกเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ ไว้อย่างถูกต้องและตามความเป็นจริง มัีนจึงเป็นหลักฐานที่ดีที่สุดที่ชี้ให้เห็นถึงความถูกต้องแม่นยำของพระคัมภีร์ เมื่อพูดถึงหัวข้่อเกี่ยวกับศาสนาและกฎบัญญัติ นั้นทำให้การอ้างว่าพระคัีมภีร์เป็นพระวจนะของพระเจ้ามีน้ำ้หนักมากยิ่งขึ้น

หลักฐานภายนอกอีกชิ้นหนึ่งที่บ่งชี้ว่าพระคัมภีร์คือพระวจนะของพระเจ้าอย่างแท้จริง คือ ความสัตย์สุจริตของผู้เขียน ดังที่กล่าวไว้แล้ว พระเจ้าทรงใช้มนุษย์ทุกอาชีพ ทุกสถานภาพ บันทึกพระวจนะของพระองค์ที่ีมีต่อเรา เมื่อศึกษาชีวิตของคนเหล่านี้ เราจะเห็นว่าไม่มีเหตุผลใด ๆ เลยที่ทำให้เราคิดว่าคนเหล่านี้ไม่ใช่คนซื่อสัตย์และจริงใจ เมื่อเราศึกษาประวัติของพวกเขา และความเป็นจริงที่ว่าพวกเขาุึถึงกับยอมตาย (อย่างเจ็บปวดทรมานเป็นส่วนใหญ่) เพื่อสิ่งที่เขาเชื่อ ทำให้เราเห็นชัดเจนทันทีว่าคนธรรมดา ๆ แต่สัตย์ซื่อเหล่านี้เชื่อแน่นอนว่าพระเจ้าได้ตรัสกับพวกเขา ผู้เขียนพันธสัญญาใหม่ และผู้เชื่อเป็นร้อย (1 โครินธ์ 15:6) รู้ความจริงเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาประกาศ เพราะพวกเขาได้เห็นและได้ใช้เวลาอยู่กับพระเยซูคริสต์ หลังจากที่พระองค์ทรงฟื้นขึ้นมาจากความตาย การได้เห็นพระคริสต์ผู้ทรงฟื้นคืนพระชนม์กับตา มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในพวกเขา จากการที่ต้องหลบซ่อนด้วยความกลัว กลายเป็นการเต็มใจที่จะตายเพื่อประกาศข่้าวประเสริฐที่พระเจ้าืทรงเปิดเผยสำแดงกับพวกเขา ชีวิตและความตายของพวกเขาเป็นพยานถึงความเป็นจริงที่ว่าพระคัมภีร์คือพระวจนะของพระเจ้าโดยแท้จริง

ประจักษ์พยานภายนอกชิ้นสุดท้ายที่ยืนยันว่าพระคัมภีร์คืิอพระวจนะที่แท้จริงของพระเจ้า คือ การที่ไม่มีใครสามารถทำลายพระคัมภีร์ได้ เพราะความสำคัญของพระคัมภีร์ และ เพราะพระคัมภีร์ยืินยันว่ามันเป็นพระวจนะของพระเ้จ้า พระคัมภีร์จึงถูกโจมตีอย่างรุนแรงหลายครั้ง และ ได้มีการพยายามทำลายพระคัมภีร์มากกว่าหนังสือเล่มใดในประวัติศาสตร์ จากจักรพรรดิ์โรมันในยุคต้น ๆ เช่น ดิโอคลีเชียน มาถึงผู้นำลัทธิคอมมิวนิสต์ จนถึงผู้ที่ไม่เชื่อหรือไม่แน่ใจว่าพระเจ้ามีจริงในปัจจุบัน พระคัมภีร์ยืนหยัดมั่นคงผ่านทุกยุคทุกสมัย และยังคงเป็นหนังสือที่ได้รับการตีพิมพ์อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

ตลอดมา ผู้ที่ไม่เชื่อถือความจริงใด ๆ ทั้งสิ้นถือว่าพระคัมภีร์คือเทพนิยาย แต่นักโบราณคดียืนยันว่าพระคัมภีร์คือประวัติศาสตร์ ผู้ต่อต้านโจมตีว่าคำสอนในพระคัมภีร์เป็นเรื่องโบราณและล้าสมัย แต่แนวความคิดทางด้านศีลธรรม กฎบัญญัติ และคำสอน ได้มีผลกระทบทางด้านดีต่อสังคมและวัฒนธรรมทั่วโลก ถึงแม้ว่าพระคัมภีร์ยังคงถูกต่อต้านโดยนักวิทยาศาสตร์ จิตวิทยา และการเมือง แต่พระคัมภีร์ก็ยังเป็นความจริงและยังใช้ได้ในปัจจุบันอยู่นั่นเอง ดังที่ได้เป็นมาแล้วตั้งแต่ที่พระคัมภีร์ได้ถูกเขียนขึ้นมา พระคัมภีร์เป็นหนังสือที่ได้เปลี่ยนแปลงชีวิต วัฒนธรรม นับไม่ถ้วนมาแล้วตลอดระยะเวลา 2000 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าผู้ัต่อต้านจะพยายามโจมตี ทำลาย หรือ ทำให้พระคัมภีร์เสียชื่อเสียงอย่างไร มันก็ยังคงยืนหยัดอยู่อย่างมั่นคง เคยเป็นความจริงอย่างไรก็ยังคงเป็นเช่นนั้นอยู่ ยังใช้การได้หลังถูกโจมตีอย่างไรก็ยังคงเป็นเช่นนั้นอยู่ ไม่ว่ามันจะถูกพยายามทำให้บิดเบือน โจมตี หรือทำลาย ความถูกต้องแม่นยำที่ยังคงถูกรักษาไว้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าพระคัมภีร์คือพระวจนะของพระเจ้าโดยแท้จริง เราไม่ควรประหลาดใจเลยว่า ทำไม ไม่ว่าพระคัมภีร์จะถูกโจมตีอย่างไร มันก็ยัีงคงผ่านพ้นมาได้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือสะทกสะท้าน เหนือสิ่งอื่นใด พระเยซูตรัสว่า “ฟ้าและดินจะล่วงไป แต่ถ้อยคำของเราจะสูญหายไปหามิได้เลย” (มาระโก 13:31) หลังจากที่ได้ดูหลักฐานแล้ว เราสามารถพูดได้อย่างไม่ต้องสงสัยเลยว่า “ใช่แล้ว พระคัมภีร์คือพระวจนะของพระเจ้าอย่างแน่นอน.”





พระคัมภีร์คือพระวจนะของพระเจ้าจริงหรือไม่?

การเป็นคริสเตียนคืออะไร และ คริสเตียนเชื่ออะไร?




คำถาม: การเป็นคริสเตียนคืออะไร และ คริสเตียนเชื่ออะไร?

คำตอบ:
ข้อพระคัมภีร์ 1 โครินธ์ 15:1-4 กล่าวว่า “ยิ่งกว่านี้ พี่น้องทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอให้ท่านคำนึงถึงข่าวประเสริฐที่ข้าพเจ้าเคยประกาศแก่ท่านทั้งหลาย ซึ่งท่านได้ยอมรับไว้ อันเป็นฐานซึ่งท่านทั้งหลายตั้งมั่นอยู่ และซึ่งทำให้ท่านรอดด้วย ถ้าท่านยึดหลักคำสอนที่ข้าพเจ้าได้ประกาศไว้แก่ท่านทั้งหลายนั้น เว้นเสียแต่ท่านได้เชื่ออย่างไร้ประโยชน์ เรื่องซึ่งข้าพเจ้ารับไว้นั้น ข้าพเจ้าได้ประกาศแก่ท่านทั้งหลายก่อน คือว่าพระคริสต์ได้ทรงวายพระชนม์เพราะบาปของเราทั้งหลาย ตามที่เขียนไว้ในพระคัมภีร์ และทรงถูกฝังไว้ แล้ววันที่สามพระองค์ทรงเป็นขึ้นมาใหม่ตามที่มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์นั้น”

ในการตอบสั้น ๆ นั่นคือความเชื่อแบบคริสเตียน ความเชื่อแบบคริสเตียนมีเอกลักษณ์แตกต่างจากความเชื่ออื่น ๆ เพราะความเชื่อแบบคริสเตียนเป็นความเชื่อที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ มากกว่าการมีพิธีกรรมทางศาสนา แทนที่จะเป็นการทำตามรายการ “จงละเว้นนั่้น อย่าละเว้นนี่” เป้าหมายของคริสเตียนคือการเข้าสนิทกับพระเจ้าพระบิดาทีละเล็กละน้อย ความสัมพันธ์นี้เป็นไปได้เพราะการกระทำของพระเยซูคริสต์ และการทำงานของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ในชีวิตของคริสเตียน

คริสเตียนเชื่อว่าพระคัมภีร์ได้รับการดลใจ และเป็นพระวจนะของพระเจ้าที่ไม่มีข้่อผิดพลาด และคำสอนจากพระคัมภีร์คือสิทธิอำนาจสูงสุด (2 ทิโมธี 3:16, 2 เปโตร 1:20-21) คริสเตียนเชื่อในพระเจ้าผู้ทรงเป็นหนึ่งเดียวในสามพระภาค คือ พระบิดา พระบุตร (พระเยซูคริสต์) และ พระวิญญาณบริสุทธิ์

คริสเตียนเชื่อว่ามนุษย์ถูกสร้างขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อให้มีความสัมพันธ์กับพระเจ้า แต่ความบาปมาแยกมนุษย์ออกจากพระองค์ (โรม 5:12, โรม 3:23) ความเชื่อแบบคริสเตียนสอนว่า พระเยซูคริสต์ทรงดำเนินอยู่ท่ามกลางเรา ทรงเป็นทั้งมนุษย์และพระเจ้า( ฟีลิปปี 2:6-11) และทรงสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน คริสเตียนเชื่อว่าหลังจากที่ได้ทรงสิ้นพระชนม์บนไม้การเขนแล้ว ทรงถูกนำไปฝัง แล้วทรงฟื้นคืนพระชนม์ และเดี๋ยวนี้ทรงประทับอยู่ ณ เบื้องขวาของพระบิดา ทรงอธิษฐานวิงวอนเพื่อผู้เชื่อทั้งหลายอยู่เป็นนิตย์ (ฮีบรู 9:11-14, ฮีบรู 10:10, โรม 6:23, โรม 5:8).

เพื่อเราจะได้รับความรอด เราต้องเชื่ออย่างง่าย ๆ ในสิ่งที่พระคริสต์ได้ทำสำเร็จลงบนไม้กางเขน หากใครคนใดคนหนึ่งเชื่อว่าพระคริสต์สิ้นพระชนม์แทนเขาเพื่อไถ่บาปให้กับเขา แล้วทรงฟื้นคืนพระชนม์ เท่านั้นเอง คน ๆ นั้นก็จะได้รับความรอด ไม่มีอะไรที่ใครจะทำได้เพื่อที่จะได้รับความรอด ไม่มีใีคร “ดีพอ” โดยตัวเองที่จะทำให้พระเจ้าพอพระทัย เพราะเราทุกคนเป็นคนบาป (อิสยาห์ 64: 6-7, อิสยาห์ 53:6) ประการที่สอง คือ ไม่มีอะไรอีกแล้วที่จะต้องทำ เพราะพระคริสต์ได้ทรงกระทำทั้งหมดไปแล้ว! เืมื่อทรงถูกตรึงอยู่บนการเขน พระองค์ตรัสว่า “สำเร็จแล้ว” (ยอห์น 19:30)

เช่นเดียวกับที่ไม่มีอะไรที่ใครสามารถจะทำได้เพื่อที่จะได้รับความรอด เมื่อคน ๆ นั้นเชื่อในสิ่งที่พระคริสต์ได้ทำลงไปบนไม้กางเขน ก็ไม่มีอะไรที่จะทำให้เขาสูญเสียความรอดไปได้ จงจำไว้ว่าหน้าที่นั้นพระคริสต์เป็นผู้ทรงทำและได้ทำสำเร็จไปแล้ว! ไม่มีอะไรเกี่ยวกับความรอดที่ผู้รับจะต้องทำเืพื่อที่จะได้มาซื่งความรอดนั้น! ข้อพระคัมภีร์ยอห์น 10:27-29 กล่าวว่า “แกะของเราย่อมฟังเสียงของเรา และเรารู้จักแกะเหล่านั้น และแกะนั้นตามเรา เราให้ชีวิตนิรันดร์แก่แกะนั้น และแกะนั้นจะไม่พินาศเลย และจะไม่มีผู้ใดแย่งชิงแกะเหล่านั้นไปจากมือของเราได้ พระบิดาของเราผู้ประทานแกะนั้นให้แก่เราเป็นใหญ่กว่าทุกสิ่ง และไม่มีผู้ใดสามารถชิงแกะนั้นไปจากพระหัตถ์ของพระบิดาของเราได้”

บางคนอาจจะคิดว่า “ดีจังเลย -- พอฉันได้รับความรอดปุ๊บ ฉันก็จะสามารถทำอะไรก็ได้ตามความพอใจโดยไม่ต้องสูญเสียความรอดเสียด้วย!” แต่ความรอดไม่ใช่การเป็นอิสระเพื่อที่จะทำอะไรก็ได้ตามอำเภอใจ ความรอดคือความเป็นอิสระจากธรรมชาติบาปเก่า ๆ และความเป็นอิสระในการมีความสัมพันธ์ที่ถูกต้องกับพระเจ้า ตราบเท่าที่ผู้เชื่อยังคงมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ในกายบาป เขาก็ยังจะต้องต่อสู้เพื่อเอาชนะความบาปอยู่นั่นเอง การมีชีวิตอยู่ในความบาปเป็นการขวางความสัมพันธ์ที่พระเ้จ้าทรงต้องการที่จะมีกับมนุษย์ แต่อย่างไรก็ตาม คริสเตียนสามารถเอาชนะความบาปได้โดยการนำพระวจนะ (พระคัมภีร์) มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และอยู่ภายใต้การควบคุมของพระวิญญาณบริสุทธิ์ -- นั่นคือการยอมจำนนต่อการทรงนำของพระวิญญาณในทุกสถานการณ์ ทุกวัน และเชื่อฟังพระวจนะโดยผ่านทางพระวิญญาณบริสุทธิ์

ดังนั้น ในขณะที่ศาสนาหลายศาสนาสอนให้ผู้เชื่อปฏิบัติบางอย่าง ละเว้นการปฏิบัติบางอย่าง การเป็นคริสเตียนเป็นเรื่องเกี่ยวกับการมีความสัมพันธ์กับพระเจ้า การเป็นคริสเตียนเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อว่าพระคริสต์ทรงสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนเพื่อไุ่ถ่บาปให้คุณ หลังจากนั้นทรงฟื้นคืนพระชนม์ คุณหมดหนี้บาปแล้วและสามารถมีความสัมพันธ์กับพระเจ้าได้ คุณมีชัยชนะเหนือธรรมชาติบาปของคุณ และสามารถมีความสัมพันธ์และเชื่อฟังพระเจ้าได้ นี่คือการเป็นคริสเตียนตามนิยามในพระคัมภีร์ที่แท้จริง.





การเป็นคริสเตียนคืออะไร และ คริสเตียนเชื่ออะไร?

พระเจ้ามีจริงหรือไม่? ฉันจะรู้แน่ ๆ ได้อย่างไรว่าพระเจ้ามีจริง?




คำถาม: พระเจ้ามีจริงหรือไม่? ฉันจะรู้แน่ ๆ ได้อย่างไรว่าพระเจ้ามีจริง?

คำตอบ:
เรารู้ว่าพระเจ้ามีจริงเพราะพระองค์ทรงเิปิดเผยพระองค์เองต่อเราในสามทาง คือ ทางการทรงสร้าง, ทางพระวจนะของพระองค์, และทางพระบุตรของพระิองค์คือ พระเยซูคริสต์

หลักฐานพื้น ๆ ที่พิสูจน์ว่าพระเ้จ้ามีอยู่จริงนั้นคือ สิ่งที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นมา “ตั้งแต่เริ่มสร้างโลกมาแล้ว สภาพที่ไม่ปรากฏของพระองค์นั้น คือฤทธานุภาพอันนิรันดร์และเทวสภาพของพระเจ้า ก็ได้ปรากฏชัดในสรรพสิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ฉะนั้นเขาทั้งหลายจึงไม่มีข้อแก้ตัวเลย” (โรม 1:20) “ฟ้าสวรรค์ประกาศสง่าราศีของพระเจ้า และภาคพื้นฟ้าสำแดงพระหัตถกิจของพระองค์” (สดุดี 19:1)

หากข้าพเจ้าเจอนาฬิกาข้อมือเรือนหนึ่งในสนามหญ้่าแห่งหนึ่ง ข้าพเจ้าคงไม่คิดว่ามัน “โผล่” ขึ้นมาเองโดยไม่มีที่มาที่ไป หรือ มัีนอยู่ตรงนั้นมาโดยตลอด ดูจากการออกแบบของมัน ข้าพเจ้าจะต้องเดาเอาว่าจะต้องมีใครสักคนหนึ่งออกแบบมันขึ้นมา แต่ข้าพเจ้าเห็นการออกแบบที่ยิ่งใหญ่และจำเพาะเจาะจงกว่านั้นมากนักในโลกรอบ ๆ ตัวเรา การวัดเวลาของเราไม่ได้ขึ้นอยู่กับนาฬิกาข้อมืิอ แต่ขึ้นอยู่กับหัตถกิจของพระเจ้า -- การหมุนของโลก (และคุณสมบัติของกัมมันตภาพรังสีซีเซียม-133 อะตอม) จักรวาลแสดงให้เห็นถึงการออกแบบที่ยิ่งใหญ่ และนี่เป็นการแสดงให้เห็นว่าจะต้องมีนักออกแบบผู้ยิ่งใหญ่

หากข้าพเจ้าเจอข้อความที่เข้ารหัสไว้่ ข้าพเจ้าก็จะต้องพยายามแก้ระหัสนั้นให้ได้ ข้าพเจ้าคงคิดว่าจะต้องมีใครสักคนที่เป็นสายลับที่เป็นผู้ส่ง ข่าวมา และเป็นผู้ตั้งรหัสเอาไว้ คิดดูซิว่า “รหัส” DNA ที่อยู่ในทุกเซลล์ในร่างกายของเรานั้นซับซ้อนแค่ไหน? ความซับซ้อนและวัตถุประสงค์ของมันไม่ได้แสดงให้เห็นเลยหรือว่าต้องมีสายลับสักคนหนึ่งเป็นผู้เขียนรหัสนี้ขึ้นมา

พระเจ้าไม่เพียงแต่ทรงสร้างโลกที่แสนสลับซับซ้อนแต่กลับกลมกลืนเข้ากันได้เป็นอย่างดีเื้่ืท่านั้น แต่พระองค์ยังทรงปลูกฝังความรู้สึกอันเป็นนิรันดร์เข้าไว้ในใจของมนุษย์ทุกคนด้วย (ปัญญาจารย์ 3:11) มนุษย์มีความคิดที่ติดตัีวมาตั้งแต่กำเนิดว่าชีวิตนี้มีอะไรมากกว่าสิ่งที่ตามองเห็น มีอะไรที่เป็นอยู่เหนือกว่าการดำเนินชีวิตตามปกติประจำวัน ความสำนึกของเราเกี่ยวกับความเป็นนิรันดร์ปรากฎขึ้นมาอย่างน้อยสองทาง นั่นคือ การกำหนดกฎเกณฑ์ขึ้นมา และการนมัสการ

ตลอดเวลาที่ผ่านมา คนทุกเชื้อชาติศาสนาได้เห็นถึงคุณค่าทางคุณธรรมบางประการซึ่งน่าแปลกใจว่าเป็นความเห็นที่เหมือนกันหมด ยกตัวอย่างเช่น ความรักในอุดมคติเป็นที่ยกย่องของคนทั่วไป ในขณะที่การโกหกเป็นที่เกลียดชัง คุณค่าทางคุณธรรมที่เหมือนกันนี้ (ความเข้่าใจเหมือนกันทั่วโลกถึงสิ่งทีุ่ถูกและผิด) ชี้ให้เห็นถึงผู้มีุคุณธรรมสูงสุดผู้ใส่ความรู้สึกละอายไว้ในเรา

ในทำนองเดียวกัน ไม่ว่าขนบธรรมเนียมประเพณีของคนทั่วโลกจะเป็นอย่างไร ผู้คนจะสร้างระบบการนมัสการขึ้นมาอยู่เสมอ สิ่งที่พวกเขานมัสการอาจไม่เหมือนกัน แต่ความรู้สึกถึง “พลังที่มาจากเบื้องบน” เป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ที่เราปฏิเสธไม่ได้ ความอยากนมัสการของเราเกิดขึ้นตามความจริงที่ว่าพระเจ้าทรงสร้างเราขึ้นมา “ตามพระฉายของพระองค์” (ปฐมกาล 1:27)

พระเจ้าทรงเปิดเผยพระองค์เองต่อเราผ่านทางพระวจนะของพระองค์ (พระคัมภีร์) ด้วยเช่นกัน ตลอดทั่วทั้งพระคัมภีร์ การดำรงอยู่ของพระเจ้าถูกพิจารณาว่าเป็นความจริงโดยประจักษฺ์พยานในตัวของมันเอง (ปฐมกาล 1:1; อพยพ 3:14) เมื่อ เบนจมิน แฟรงคลิน เขียน อัตชีวประวัติ ของเขา เขาไม่ได้เสียเวลาพยายามพิสูจน์เลยว่าเขามีตัวตน เช่นเดียวกัน พระเจ้าทรงไม่ได้ใช้เวลามากนักพิสูจน์ว่าพระองค์ทรงมีตัวตนในหนังสือของพระองค์ คุณสมบัติของพระคัมภีร์ที่เปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คนได้, คุณธรรมในนั้น และการอัศจรรย์ที่ีมีปรากฎอยู่ ควรเพียงพอที่จะรับประกันให้ผู้อ่านตรวจสอบให้ชัดเจนยิ่งขึ้นได้

ทางที่สามที่พระเจ้าทรงเปิดเผยพระองค์เองก็คือโดยทางพระบุตร (พระเยซูคริสต์) (ยอห์น 14:6-11) “ในเริ่มแรกนั้นพระวาทะทรงเป็นอยู่แล้ว และพระวาทะทรงอยู่กับพระเจ้า และพระวาทะทรงเป็นพระเจ้า … พระวาทะได้ทรงสภาพของเนื้อหนัง และทรงอยู่ท่ามกลางเรา (และเราทั้งหลายได้เห็นสง่าราศีของพระองค์ คือสง่าราศีอันสมกับพระบุตรองค์เดียวที่บังเกิดจากพระบิดา บริบูรณ์ด้วยพระคุณและความจริง” (ยอหฺ์น 1:1, 14) ในพระเยซูคริสต์ “สภาพของพระเจ้าดำรงอยู่อย่างบริบูรณ์” (โคโลสี 2:9)

ในชีวิตที่แสนอัศจรรย์ของพระเยซู พระองค์ทรงรักษากฎบัญญัติทั้งหมดในพันธสัญญาเดิมไว้ได้อย่างไม่มีขาดตกบกพร่อง และทรงทำให้คำเผยพระวจนะเกี่ยวกับพระเมสสิยาห์ (มัทธิว 5:17) สำเร็จเป็นจริง พระองค์ทรงทำพระราชกิจแห่งความเมตตาสงสารและการอัศจรรย์มากมายนับไม่ถ้วนต่อหน้าฝูงชนเป็นจำนวนมาก เพื่อพิสูจน์สิ่งที่พระองค์ตรัส และเป็นพยานถึงความเป็นพระเจ้าของพระองค์ (ยอห์น 21:24-25) ต่อจากนั้น สามวันหลังจากที่ทรงถูกตรึงบนกางเขน พระองค์ทรงฟื้นคืนพระชนม์ มีคนเป็นร้อย ๆ เห็นสิ่งเหล่านี้กับตาและสามารถยืนยันข้อเท็จจริงนี้ได้ (1 โครินธ์ 15:6) หลักฐานทางประวัติศาสตร์มี “ข้อพิสูจน์” มากมายว่าพระเยซูคือใคร ดังที่อัครสาวกเปาโลได้กล่าวไว้ “การเหล่านั้นมิได้กระทำกันในที่ลับลี้” (กิจการ 26:26)

เรารู้ว่าจะต้องมีคนขี้สงสัยผู้ที่มีความคิดเป็นของตนเองเกี่ยวกับพระเจ้่าติดตามอ่านหลักฐานเหล่านี้อยู่ และจะมีบางคนที่ไม่ว่าจะมีหลักฐานแค่ไหนเขาก็ไม่มีวันจะเปลี่ยนใจ (สดุดี 14:1) ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับความเชื่อเท่านั้น (ฮีบรู 11:6).





พระเจ้ามีจริงหรือไม่? ฉันจะรู้แน่ ๆ ได้อย่างไรว่าพระเจ้ามีจริง?

ความหมายของชีวิตคืออะไร?




คำถาม: ความหมายของชีวิตคืออะไร?

คำตอบ:
ความหมายของชีวิตคืออะไร? ฉันจะหาความหมายของชีวิต เติมชีวิตให้เต็ม และพอใจกับชีวิตได้อย่างไร? ฉันจะมี ความเข้มแข็งพอที่จะทำอะไรสักอย่างที่มีความหมายตลอดไปให้สำเร็จได้ไหม? มีคนมากมายไม่เคยหยุดคิดเลยว่าอะไรคือความหมายของชีวิต หลายปีให้หลัง เมื่อเขามองย้อนกลับไป แล้วสงสัยว่าทำไมความสัมพันธ์ของเขาจึงล้มเหลว และ ทำไมเขาจึงรู้สึกว่างเปล่้าเหลือเกินแม้ว่าเขาอาจจะประสพความสำเร็จในการทำสิ่งที่เขาตั้งใจว่าจะทำก็ตาม มีนักเล่นเบสบอลคนหนึ่งไปถึงจุดนั้นและมีชื่อของเขาบรรจุอยู่ในห้องสมุดของผู้มีชื่อเสียงทางด้านเบสบอล เมื่อถูกถามว่าเขาอยากให้มีใครบอกอะไรบ้างเมื่อเขาเริ่มเล่นเบลบอลล์ เขาตอบว่า “ผมอยากให้มีใครสักคนบอกผมว่า เมื่อคุณไปถึงจุดสูงสุดแล้ว คุณจะพบว่าที่นั่นไม่มีอะไรเลย” เป้าหมายหลายอย่างที่เราเสียเวลาหลายปีจนไปถึงแล้ว เรากลับพบว่ามันว่างเปล่า

ในสังคมของมนุษยชาติ ผู้คนพยายามไปให้ถึงเป้าหมายด้วยวัตถุประสงค์หลายประการ ด้วยคิดว่าที่นั่นพวกเขาจะค้นพบความหมาย เป้าหมายเหล่านี้รวมถึง ความสำเร็จทางธุรกิจ, สุขภาพ, การมีความสัมพันธ์ที่ดี, เพศสัมพันธ์, ความบันเทิงเริงรมย์ด้านต่าง ๆ, การทำดีต่อคนอื่น, ฯลฯ มีหลายคนบอกว่าหลังจากที่เขาประสพความสำเร็จทางด้าน ความมั่งคั่ง, ความสัมพันธ์, และความรื่นรมย์ ที่ตั้งเป้าไว้ ข้างในของพวกเขาก็ยังว่างเปล่าอยู่ -- มันเป็นความรู้สึกเวิ้งว้างว่างเปล่าที่ไม่มีอะไรสามารถจะเติมให้เต็มได้เลย

ผู้เขียนหนังสือปัญญาจารย์ในพระคัมภีร์ได้พูดถึงความรู้สึกว่างเปล่านี้ว่าเป็น “อนิจจัง! อนิจจัง! … อนิจจัง สารพัดอนิจจัง” พระองค์ทรงมีความมั่งคั่งเหลือคณานับ มีสติปัญญาเหนือใครในสมัยนั้นและในสมัยนี้ มีผู้หญิงนับร้อย มีปราสาทราชวัง มีสวน อันเป็นที่อิจฉาของบรรดาอาณาจักรต่าง ๆ มีอาหารและเหล้าที่ดีที่สุด มีสิ่งสันทนาการนานับประการ และณ.จุด ๆ หนึ่ง พระองค์ตรัสว่าไม่ว่าอะไรที่ทรงต้องการ พระองค์ก็จะทรงแสวงหามาจนได้เสมอ แต่ในที่สุดก็ได้ตรัสว่า “ชีวิตภายใต้ดวงอาทิตย์” (ชีวิตที่เปรียบเสมือนว่าทั้งหมดมีเพียงแค่เท่าที่ตามองเห็นและประสาทสัมผัสได้เท่านั้น) ไร้ความหมาย! ทำไมจึงมีแต่ความเวิ้งว้างว่างเปล่า? คำตอบคือ เพราะว่าพระเจ้าทรงสร้างเราขี้นมาเพื่ออะไรบางอย่างเหนืออะไรที่เป็นอยู่ ที่นี่้และเดี๋ยวนี้ กษัตริย์โซโลมอนกล่าวเกี่ยวกับพระเจ้าไว้ว่า “พระองค์ได้กำหนดความเป็นนิรันดร์ในหัวใจของมนุษย์ไว้ด้วย…” ในใจของเรา เรารู้ว่า “ที่นี่และเดี๋ยวนี้” ไม่ใช่ทั้งหมดที่มีอยู่

ในหนังสือปฐมกาล ซึ่งเป็นหนังสือฉบับแรกในพระคัมภีร์ เราจะเห็นว่าพระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ขึ้่นมาตามพระฉายของพระองค์ (ปฐมกาล 1:26) นั่นหมายความว่าเราเหมือนพระเจ้ามากกว่าสิ่งมีชีวิตใด ๆ ทั้งสิ้น เราได้พบอีกว่า ก่อนที่มนุษย์จะล้มลงในความบาป และคำสาปแช่งได้เข้ามาสู่โลก สิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้เป็นเรื่องจริง: (1) พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ให้เป็นสัตว์สังคม (ปฐมกาล 2:18-15); (2) พระเจ้าทรงมอบหมายงานให้กับมนุษย์ (ปฐมกาล 2:15); (3) พระเจ้าทรงมีความสัมพันธ์กับมยุษย์ (ปฐมกาล 3:8); และ (4) พระเจ้าทรงให้มนุษย์ครอบครองเหนือโลก (ปฐมกาล 1:26) สิ่งเหล่านี้สำคัญอย่างไร? ข้าพเจ้าเชื่อว่าพระเจ้าทรงตั้งพระทัยให้แต่ละสิ่งเหล่านี้เติมชีวิตเราให้เต็ม แต่ทั้งหมด (โดยเฉพาะการมีความสัมพันธ์กับพระเจ้า) เกิดผลกระทบเมื่อมนุษย์ล้มลงในความบาป อันเป็นผลให้คำสาปแช่งเกิดขึ้นบนโลก (ปฐมกาล 3)

ในหนังสือวิิวรณ์ซึ่งเป็นหนังสือเล่มสุดท้ายในพระคัมภีร์ หลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคสุดท้ายมากมายหลายอย่าง พระเจ้าทรงเปิดเผยว่าพระองค์จะทรงทำลายโลกและฟ้าสวรรค์ที่เรารู้จักในปัจจุบัน แล้วจะทรงสร้างทั้งหมดขึ้นมาใหม่ซึ่งจะคงอยู่ชั่วนิรันดร์ เมื่อถึงเวลานั้น พระองค์จะทรงมีความความสัมพันธุ์อย่างเต็มรูปแบบกับมนุษย์ที่ทรงไถ่ไว้ มนุษย์บางคนจะถูกพิพากษาและส่งไปยังบึงไฟนรก (วิวรณ์ 20:11-15) 21:4 และคำสาปแช่งจะไม่มีอีกต่อไป ความบาปจะไม่มีอีกต่อไป ความโศกเศร้า โรคภัยไข้เจ็บ ความตาย ความเจ็บปวด, ฯลฯ จะไม่มีอีกต่อไป (วิวรณ์ 21:4) และผู้เชื่อจะได้รับสิ่งสารพัดเป็นมรดก และพระเจ้าจะทรงอยู่กับพวกเขา และเขาจะเป็นบุตรของพระองค์ (วิวรณ์ 21:7) แล้ววงจรก็จะครบถ้วน คือ พระเจ้าทรงสร้างเราขึ้นมาเพื่อให้มีความสัมพันธ์กับพระองค์; มนุษย์ล้มลงในความบาปซึ่งทำให้ึความสัมพันธ์นั้นขาดออก; พระเจ้าทรงทำให้ึความสัมพันธ์กับผู้ที่พระิองค์ทรงเห็นว่าสมควร กลับสู่สภาพดีชั่วนิรันดร์ ดังนั้น การมีชีวิตพร้อมความสำเร็จในทุก ๆ ด้าน เพียงเพื่อเมื่อจากโลกนี้ไปจะต้องถูกตัดขาดจากพระเจ้าชั่วนิรันดร์ เป็นเรื่องไร้ประโยชน์! แต่พระเจ้าได้ทรงเปิดทาง ที่ไม่เพียงแต่จะทำให้เราได้พบกับความสุขนิรันดร์เท่านั้น (ลูกา 23:43) แต่ในขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ พระองค์จะทรงทำให้่ชีวิตเราอิ่มเอมและมีความหมายอีกด้วย เราจะมีความสุขนิรันดร์ และ “สวรรค์บนโลก” ได้อย่างไร?

ความหมายในชีวิตที่ได้รับการกู้โดยพระเยซูคริสต์

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ความหมายแห่งชีวิตที่แท้จริงทั้งในปัจจุบันและชั่วนิรันดร์กาล อยู่ที่การทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าที่ขาดหายไปตั้งแต่สมัยที่อาดัมกับเอวาล้มลงในความบาปกลับสู่สภาพดี ในปัจจุบัน ความสัมพันธ์นั้นเป็นไปได้โดยทางพระบุตร, พระเยซูคริสต์, เท่านั้น (กิจการ 4:12; ยอห์น 14:6; ยอห์น 1:12) มนุษย์สามารถมีชีวิตนิรันดร์ได้เมื่อเขาสารภาพบาป (ไม่อยากทำบาปต่อไป และต้องการให้พระคริสต์ช่วยเปลี่ยนและทำให้เขาเป็นคนใหม่) และเริ่มพึ่งพระเยซูคริสต์ในฐานะพระผู้ช่วยให้รอด (ดูคำถามในหัวข้อ “แผนการสำหรับความรอดคืออะไร? หากคุณต้องการความรู้มากขึ้นสำหรับเรื่องสำคัญนี้)

ความหมายที่แท้จริงในชีวิตไม่ใช่การได้พบว่าพระเยซูทรงเป็นพระผู้ช่วยให้รอดเท่านั้น (ซึ่งเป็นเรื่องแสนอัศจรรย์อยู่แล้ว) แต่อยู่่ที่การที่ได้เริ่มต้นติดตามพระคริสต์ในฐานะสาวกของพระองค์ ได้เรียนรู้จากพระองค์ ใช้เวลากับพระองค์ผ่านทางพระวจนะ (พระคัมภีร์) สื่อสารกับพระองค์ทางการอธิษฐาน และเดินกับพระองค์ด้วยความเชื่อฟังต่อคำสั่งของพระองค์ หากคุณไม่ใช่ผู้เชื่อ (หรือเป็นผู้เชื่อใหม่) คุณอาจพูดกับตัวเองว่า “ฟังดูแล้วไม่เห็นน่าตื่นเต้นหรืออิ่มเอมสำหรับฉันเลย!” แต่จงอ่านต่อไปอีกสักนิดหนึ่ง พระเยซูได้ตรัสถ้อยคำเหล่านี้ไว้:

“บรรดาผู้ทำงานเหน็ดเหนื่อยและแบกภาระหนัก จงมาหาเรา และเราจะให้ท่านทั้งหลายหายเหนื่อยเป็นสุข จงเอาแอกของเราแบกไว้ แล้วเรียนจากเรา เพราะว่าเรามีใจอ่อนสุภาพและถ่อมลง และท่านทั้งหลายจะพบที่สงบสุขในใจของตน ด้วยว่าแอกของเราก็แบกง่าย และภาระของเราก็เบา" (มัทธิว 11:28-30) “เราได้มาเพื่อเขาทั้งหลายจะได้ชีวิต และจะได้อย่างครบบริบูรณ์ (ยอห์น 10:10ข) “ถ้าผู้ใดใคร่ตามเรามา ให้ผู้นั้นเอาชนะตัวเอง และรับกางเขนของตนแบกและตามเรามา เพราะว่าผู้ใดใคร่จะเอาชีวิตของตนรอด ผู้นั้นจะเสียชีวิต แต่ผู้ใดจะเสียชีวิตของตนเพราะเห็นแก่เรา ผู้นั้น จะได้ชีวิตรอด” (มัทธิว 16:24-25) “จงปีติยินดีในพระเยโฮวาห์และพระองค์จะประทานตามใจปรารถนาของท่าน” (สดุดี 37:4)

สิ่งที่ข้อพระคัมภีร์เหล่านี้กำลังพูดถึงก็คือเรามีทางเลือก เราสามารถเลือกที่จะนำพาชีวิตด้วยตัีวเอง (ซึ่งหมายถึงการใช้ชีวิตที่ว่างเปล่า) หรือติดตามพระเจ้าและน้ำพระทัยของพระองค์ที่มีต่อชีวิตของเราจนหมดใจ (ซึ่งหมายถึงการใช้ชีวิตที่เต็มบริบูรณ์ สมปรารถนา อิ่มเอมและพึงพอใจ) ที่เป็นเช่นนี้ได้ก็เพราะพระผู้สร้างของเราทรงรักเราและปรารถนาให้เราได้สิ่ีงที่ดีที่สุด (ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นชีวิตที่ง่ายที่สุด แต่จะเป็นชีวิตที่เต็มบริบูรณ์ที่สุด)

ก่อนจบขอแบ่งปันคำเปรียบเทียบที่ขอยืมมาจากเื่พื่อนที่เป็นศิษยาภิบาล เขาพูดว่า หากคุณเป็นแฟนกีฬาประเภทใดประเภทหนึ่ง และตัดสินใจที่จะไปดูการแข่งขันระดับมืออาชีพ คุณอาจเจียดเงินมาสักก้อนหนึ่งซื้อตั๋ว “แบบประหยัด” แล้วได้ที่นั่งไกลลิบ หรือ อาจยอมควักกระเป๋าจ่ายเงินเพื่อซื้่อที่นั่งใกล้ ๆ เพื่อดูการแข่งขันอย่างเป็นส่วนตัว ก็ได้ นี่ก็เหมือนกับชีวิตคริสเตียน การได้ดูพระเจ้าทรงทำพระราชกิจอย่างใกล้ชิด ไม่ได้มีไว้สำหรับคริสเตียนเฉพาะวันอาทิตย์ พวกเขาไม่ยอมควักกระเป๋า การดูพระเจ้าทรงทำพระราชกิจอย่างใกล้ชิด มีไว้สำหรับสาวกของพระคริสต์ผู้ที่ยอมทุ่มหมดใจ ยอมทิ้งความปรารถนาในชีวิตของตัวเอง เพื่อที่จะได้ติดตามพระประสงค์ของพระเจ้าในชีวิต พวกเขายอมเสียค่าใช้จ่าย (จำนนต่อพระคริสต์และน้ำพระทัยของพระองค์โดยสิ้นเชิง) พวกเขาได้ประสบการณ์ชีวิตอย่างเต็มที่ และสามารถมองหน้าตัวเอง หรือคนอื่น และพระผู้สร้างของเขา ได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องมีคำว่าเสียใจ! แล้วคุณเล่า ได้ควักกระเป๋าไปแล้วหรือไม่? คุณจะยอมควัีกกระเป๋าไหม? หากยอม คุณก็จะไม่โหยหาความหมายในชีวิตอีกเลย.





ความหมายของชีวิตคืออะไร?

คริสเตียนจำเป็นต้องเชื่อฟังพระคัมภีร์เดิมหรือไม่?




คำถาม: คริสเตียนจำเป็นต้องเชื่อฟังพระคัมภีร์เดิมหรือไม่?

คำตอบ:
กุญแจสำคัญที่นำไปสู่ความเข้าใจในเรื่องนี้ คือการรู้ว่าพระคัมภีร์เดิมหรือพันธสัญญาเดิมนั้นพระเจ้าทรงมอบให้กับชนชาติอิสราเอล ไม่ใช่ให้กับคริสเตียนปัจจุบัน บัญญัติบางข้อมีขึ้นเพื่อให้ชาวอิสราเอลรู้ว่าจะเชื่อฟังพระเจ้าและทำให้พระองค์ทรงพอพระทัยได้อย่างไร (ดังเช่นบัญญัติ 10 ประการ), บทบัญญัติบางเรื่องเป็นการแสดงให้พวกเขาเห็นว่าจะนมัสการพระเจ้าอย่างไร (ดังเช่นระบบการถวายเครื่องสักการบูชาพระองค์), บางเรื่องเป็นเพียงการทำให้ชาวอิสราเอลแตกต่างจากชนชาติอื่น (เช่นกฎเรื่องอาหารการกิน และเครื่องนุ่งห่ม) ไม่มีบทบัญญัติใดในพระคัมภีร์เดิมที่มาบังคับใช้กับเราในปัจจุบัน เมื่อพระเยซูคริสต์ทรงยอมวายพระชนม์บนไม้กางเขน พระองค์ทรงกระทำให้กฎบัญญัติในพระคัมภีร์เดิมนั้นสิ้นสุดลงแล้ว ( โรม 10:4; กาลาเทีย 3:23-25; เอเฟซัส 2:15)

พวกเราจึงได้อยู่ภายใต้พระคริสต์แทนการอยู่ภายใต้พันธสัญญาเดิม ( กาลาเทีย 6:2) ซึ่งหมายถึง “จงรักพระองค์ผู้เป็นพระเจ้าของเจ้าด้วยสุดใจสุดจิตของเจ้า และด้วยสิ้นสุดความคิดของเจ้า นั่นแหละเป็นพระบัญญัติข้อใหญ่และข้อต้น ข้อที่สองก็เหมือนกัน คือ จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง ธรรมบัญญัติและคำของผู้เผยพระวจนะทั้งสิ้น ก็ขึ้นอยู่กับพระบัญญัติสองข้อนี้” ( มัทธิว 22:37-40) ถ้าเรากระทำตาม เราก็ได้กระทำตามสิ่งที่พระคริสต์ทรงประสงค์ให้เราทำแล้ว “เพราะนี่แหละเป็นความรักต่อพระเจ้า คือที่เราทั้งหลายประพฤติตามพระบัญญัติของพระองค์ และพระบัญญัติของพระองค์นั้นไม่เป็นภาระ” ( 1 ยอห์น 5:3) ตามหลักการแล้ว บัญญัติ 10 ประการไม่ได้นำมาใช้กับคริสเตียน แต่อย่างไรก็ตาม ในบัญญัตินั้นมีอยู่ 9 ข้อที่ได้มีการกล่าวซ้ำในพระคัมภีร์ใหม่ หรือพันธสัญญาใหม่ (ทุกข้อยกเว้นข้อที่ว่าให้นับถือวันซะบาโต) ถ้าเรารักพระเจ้า เราก็จะไม่ไปบูชาพระเจ้าอื่น หรือรูปเคารพอื่น และถ้าเรารักเพื่อนบ้าน เราก็จะไม่ไปฆ่าเขา หรือโกหกเขา หรือล่วงประเวณีเขา หรือไปเอาของของเขามาเป็นของตน ดังนั้นเราจึงไม่ได้อยู่ภายใต้บัญญัติเดิม กฎของคริสเตียนปัจจุบันคือ เราต้องรักพระเจ้าและรักเพื่อนบ้านของเรา ถ้าเราปฏิบัติตามสองข้อนี้อย่างสัตย์ซื่อ ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะถูกต้องเอง





คริสเตียนจำเป็นต้องเชื่อฟังพระคัมภีร์เดิมหรือไม่?

ความเป็นพระเจ้าของพระคริสต์เหมือนอย่างที่พระคัมภีร์เขียนไว้หรือไม่?




คำถาม: ความเป็นพระเจ้าของพระคริสต์เหมือนอย่างที่พระคัมภีร์เขียนไว้หรือไม่?

คำตอบ:
นอกเหนือจากสิ่งที่พระเยซูตรัส เกี่ยวกับความเป็นพระองค์เองแล้ว เหล่าอัครสาวกของพระองค์ยังรับรู้ว่าพระองค์เป็นพระเจ้าด้วยเช่นกัน พวกเขากล่าวว่าพระเยซูทรงมีสิทธิอำนาจในการยกโทษบาปซึ่งเป็นสิ่งที่มีเพียงพระเจ้าเท่านั้นที่ทรงสามารถกระทำได้ เพราะมีเพียงพระเจ้าแต่เพียงองค์เดียวที่เกลียดชังความบาป ( กิจการ5:31; โคโลสี 3:13; สดุดี 130:4; เยเรมีย์ 31:34) นอกจากนี้แล้ว พระเยซูยังทรงเป็น “ผู้พิพากษาคนเป็นและคนตาย” ( 2 ทิโมธี 4:1) โธมัสร้องเรียกพระเยซูว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ และพระเจ้าของข้าพระองค์!” ( ยอห์น 20:28) เปาโลเรียกพระเยซูว่า “พระเยซูคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอดของเรา” ( ทิตัส 2:13) และระบุว่าก่อนที่พระองค์จะมาประสูติเป็นมนุษย์ พระเยซูทรงสภาพเป็นพระเจ้าอยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว ( ฟิลิปปี 2:5–8) ผู้เขียนหนังสือถึงชาวฮีบรูได้พูดถึงพระเยซูว่า “พระเจ้าข้า พระที่นั่งของพระองค์ดำรงอยู่เป็นนิตย์นิรันดร์” ( ฮีบรู 1:8) ยอห์นกล่าวว่า “ในปฐมกาลพระวาทะดำรงอยู่ และพระวาทะทรงสถิตอยู่กับพระเจ้า และพระวาทะทรงเป็นพระเจ้า” ( ยอห์น 1:1) ตัวอย่างในพระคัมภีร์ที่สอนเรื่องความเป็นพระเจ้าของพระคริสต์นั้นมีอีกมากมาย (ดูใน วิวรณ์ 1:17; 2:8; 22:13; 1 โครินธ์ 10:4; 1 เปโตร 2:6–8; สดุดี 18:2; 95:1; 1 เปโตร 5:4; ฮีบรู 13:20) แต่แม้กล่าวถึงเพียงข้อใดข้อหนึ่งในพระคำเหล่านี้ ก็เพียงพอแล้วที่จะแสดงว่าบรรดาผู้ติดตามพระคริสต์นั้นเชื่อว่าพระคริสต์ทรงเป็นพระเจ้า

ในพระคัมภีร์เดิมนั้น พระเยซูยังทรงได้รับพระนามเท่าเทียมกับพระนามยาเวห์ (พระนามอย่างเป็นทางการของพระเจ้า) คำว่า “พระผู้ไถ่” ในพระคัมภีร์เดิม ( สดุดี 130:7; โฮเซยา 13:14) ได้ถูกใช้แทนพระเยซูในพระคัมภีร์ใหม่เช่นกัน ( ทิตัส 2:13; วิวรณ์ 5:9) พระเยซูทรงได้รับการขนานนามว่า อิมมานูเอล (“พระเจ้าทรงอยู่กับเรา” ใน มัทธิวบทที่ 1) และใน เศคาริยาห์ 12:10 ยาเวห์คือองค์ผู้ตรัสว่า “...ดังนั้นเมื่อเขาทั้งหลายมองดูเรา ผู้ซึ่งเขาเองได้แทง…” แต่ในพระคัมภีร์ใหม่ได้หมายถึงการที่พระคริสต์ถูกตรึงบนไม้กางเขน ( ยอห์น 19:37; วิวรณ์ 1:7) ถ้ายาเวห์คือองค์ผู้ถูกแทงและถูกผู้อื่นมองดู และพระเยซูคือผู้ถูกแทง และถูกผู้อื่นมองดู ดังนั้น พระเยซูก็คือยาเวห์นั่นเอง เปาโลได้ถอดความในพระคำ อิสยาห์ 45:22–23 โดยนำมาเปรียบกับพระเยซูในพระคำ ฟิลิปปี 2:10–11 นอกเหนือจากนี้ นามของพระเยซูยังถูกใช้ควบคู่กับนามของยาเวห์ในคำอธิษฐานอีกด้วย “ขอให้พระคุณและสันติสุขจากพระบิดาเจ้า และพระเยซูคริสตเจ้าของเรา ดำรงอยู่กับท่านทั้งหลายเถิด” ( กาลาเทีย 1:3; เอเฟซัส 1:2) การกล่าวเช่นนี้ต้องเป็นการดูถูกพระเจ้าอย่างแน่นอนหากพระคริสต์ไม่ใข่พระเจ้า พระนามของพระเยซูปรากฏกับพระนามยาเวห์ในคำสั่งของพระเยซูขณะรับบัพติศมา “...ในพระนามแห่งพระบิดา พระบุตรและพระวิญญาณบริสุทธิ์” ( มัทธิว 28:19; และใน 2 โครินธ์ 13:14 ในพระคำวิวรณ์ ยอห์นกล่าวว่าให้สิ่งมีชีวิตทั้งหมดสรรเสริญพระคริสต์ (พระเมษโปดก) ดังนั้น พระเยซูไม่ใช่หนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างขึ้น ( วิวรณ์ 5:13)

การกระทำที่สามารถทำให้สำเร็จได้โดยพระเจ้าเท่านั้นเป็นสิ่งที่พระเยซูทรงกระทำได้เช่นกัน พระเยซูไม่เพียงแต่ปลุกคนให้ฟื้นขึ้นจากความตาย ( ยอห์น 5:21; 11:38–44) และยกโทษความผิดบาปได้ ( กิจการ 5:31; 13:38) พระองค์ยังทรงสร้างและครอบครองสรรพสิ่งในจักรวาล ( ยอห์น 1:2; โคโลสี 1:16-17)! ซึ่งในประเด็นนี้ยิ่งเป็นการเพิ่มน้ำหนักยิ่งขึ้นในการที่คนหนึ่งคนใดจะคิดว่าองค์ยาเวห์ตรัสว่า พระองค์ทรงดำรงอยู่แต่เพียงองค์เดียวขณะมีการทรงสร้าง ( อิสยาห์ 44:24) ยิ่งกว่านี้ พระคริสต์ยังทรงมีพระลักษณะซึ่งมีเพียงพระเจ้าเท่านั้นที่ทรงสามารถมีได้ นั่นคือ ความเป็นอมตะนิรันดร์ ( ยอห์น 8:58) การทรงสถิตอยู่ทุกหนแห่ง ( มัทธิว 18:20, 28:20) การทรงทราบทุกสิ่ง ( มัทธิว 16:21) และ ทรงมีฤทธิ์อำนาจอันไม่จำกัด ( ยอห์น 11:38-44)

ตอนนี้ มีอยู่หนึ่งสิ่งที่จะอ้างความเป็นพระเจ้าได้ หรือจะใช้หลอกบางคนเพื่อให้เชื่อว่ามันเป็นความจริง และสิ่งอื่น ๆ ที่จะพิสูจน์ให้เห็นถึงความเป็นพระเจ้า พระคริสต์ทรงกระทำการอัศจรรย์หลายอย่างเพื่อพิสูจน์ว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้า และแม้กระทั่งการฟื้นคืนพระชนม์ขึ้นมาจากความตาย นี่เป็นเพียงตัวอย่างการอัศจรรย์ไม่กี่อย่างที่พระเยซูทรงกระทำเช่น เปลี่ยนน้ำเปล่าให้เป็นเหล้าองุ่น ( ยอห์น 2:7) การเดินบนน้ำ ( มัทธิว 14:25) การเพิ่มสิ่งของเป็นทวีคูณ ( ยอห์น 6:11) การรักษาคนตาบอดให้หาย ( ยอห์น 9:7) การรักษาคนง่อย ( มาระโก 2:3) และรักษาคนเจ็บป่วย ( มัทธิว 9:35; มาระโก 1:40–42) และแม้กระทั่งการชุบชีวิตคนให้ฟื้นขึ้นจากความตาย ( ยอห์น 11:43–44; ลูกา 7:11–15; มาระโก 5:35) มากยิ่งกว่านี้ องค์พระคริสต์เองได้ทรงฟื้นคืนพระชนม์จากความตายเช่นกัน ซึ่งห่างไกลจากสิ่งที่เราเรียกว่าพระเจ้าแห่งความตาย และพระเจ้าแห่งการชุบชีวิตของเหล่าผู้ที่ไม่เชื่อ ไม่มีสิ่งใดเหมือนกับการฟื้นคืนพระชนม์ขององค์พระคริสต์ที่ได้รับการกล่าวขานอย่างจริงจังโดยศาสนาอื่น ๆ และไม่มีการกล่าวอ้างใดจะมีคำยืนยันจากพระคัมภีร์มากเท่านี้ ดังที่ดร.แกรี่ ฮาเบอร์มัสกล่าวว่า มีข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์อย่างน้อย 12 ประการที่แม้กระทั่งนักวิชาการสำคัญ ๆ ที่ไม่ใช่คริสเตียนยังต้องยอมรับ นั่นคือ

1. พระเยซูทรงสิ้นพระชนม์เพราะถูกตรึงบนไม้กางเขน
2. พระองค์ทรงถูกฝัง
3. ความตายของพระองค์ทำให้เหล่าสาวกของพระองค์สิ้นหวังและหมดหนทาง
4. หลุมพระศพของพระเยซูถูกค้นพบ (หรือมีการอ้างว่าถูกค้นพบ) ในสภาพว่างเปล่าเพียง 2-3 วันต่อมา
5. เหล่าสาวกของพระองค์เชื่อว่าพวกเขาได้พบพระเยซูที่ทรงฟื้นคืนพระชนม์ขึ้นมา
6. หลังจากนั้น เหล่าสาวกก็เปลี่ยนจากผู้ที่มีความสงสัยแคลงใจ เป็นผู้ที่เชื่ออย่างหนักแน่นมั่นคง
7. เรื่องนี้เป็นเรื่องหลักในคำสอนของคริสตจักรในยุคต้น ๆ
8. เรื่องนี้มีการสอนในกรุงเยรูซาเล็ม
9. ด้วยผลของการสอนนี้ คริสตจักรจึงกำเนิดและเติบโตขึ้น
10. วันฟื้นคืนพระชนม์คือวันอาทิตย์ ได้มาแทนวันสะบาโต (วันเสาร์) ซึ่งใช้เป็นวันสำคัญในการนมัสการ
11. ยากอบ ซึ่งเป็นคนขี้สงสัย ได้กลับใจเมื่อเขาเชื่อว่าเขาได้เห็นพระเยซูเป็นขึ้นมาจากความตาย
12. เปาโล ซึ่งเป็นคนต่อต้านคริสเตียน กลับใจจากการที่เขามีประสบการณ์ที่เขาเชื่อว่าเขาเห็นพระเยซูคริสต์ผู้ฟื้นขึ้นมาจากความตาย

แม้จะมีบางคนไม่เห็นด้วยกับรายการข้างต้นนี้ ก็มีเพียงไม่กี่รายการที่จำเป็นต้องได้รับการพิสูจน์ถึงการฟื้นคืนพระชนม์และการก่อตั้งการประกาศพระกิตติคุณของพระองค์ นั่นคือ การสิ้นพระชนม์ของพระเยซู การถูกฝัง การฟื้นคืนพระชนม์ และการปรากฏกายใหม่ ( 1 โครินธ์ 15:1-5) ในเวลาเดียวกัน อาจจะมีทฤษฎีบางอย่างอธิบายถึงข้อเท็จจริงข้างต้น หนึ่งหรือสองประการ แต่มีเพียงการฟื้นคืนพระชนม์เท่านั้นที่อธิบายถึงทุกข้อทั้งหมด ผู้ที่วิจารณ์ คริสเตียนยอมรับว่า บรรดาสาวกอ้างว่าพวกเขาเห็นพระเยซูฟื้นขึ้นมา คำโกหกหลอกลวงหรือความเชื่องมงายใด ๆ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงคนได้อย่างเรื่องการทรงฟื้นคืนพระชนม์ คำถามประการแรกคือ พวกเขาจะได้อะไร การเป็นคริสเตียนไม่ได้เป็นตามสมัยนิยม และก็ไม่ได้ทำให้พวกเขามีเงินทองมากขึ้น ประการที่สองคือ คนโกหกไม่ใช่คนที่ยอมตายเพื่อความเชื่อของตนเอง ไม่มีคำอธิบายใด ๆ ที่จะดีไปกว่าการฟื้นคืนพระชนม์ ที่ทำให้บรรดาอัครสาวกเต็มใจที่จะตายอย่างทุกข์ทรมานสำหรับความเชื่อของพวกเขา ใช่แล้ว อาจมีคนเป็นจำนวนมากตายเพื่อคำโกหกที่พวกเขาคิดว่าเป็นจริง แต่ไม่มีใครยอมตายเพื่อในสิ่งที่เขารู้ว่ามันไม่จริง

โดยสรุปแล้ว พระคริสต์กล่าวว่าพระองค์คือองค์ยาเวห์ พระองค์ทรงเป็นพระเจ้า (ไม่ใช่แค่พระเจ้าองค์หนึ่ง แต่เป็นองค์เดียวผู้เที่ยงแท้) ผู้ที่ติดตามพระองค์ (ชาวยิวซึ่งอาจจะเป็นพวกที่กลัวรูปเคารพ) เชื่อในพระองค์ และกล่าวว่าพระองค์ทรงเป็นพระเจ้า พระคริสต์ทรงพิสูจน์คำกล่าวอ้างของพระองค์ว่าเป็นพระเจ้าโดยผ่านการอัศจรรย์ รวมถึงการฟื้นขึ้นมาจากความตาย อันสะท้านโลกด้วย ไม่มีทฤษฎีอื่นใดอีกแล้วที่สามารถอธิบายข้อเท็จจริงเหล่านี้ได้.





ความเป็นพระเจ้าของพระคริสต์เหมือนอย่างที่พระคัมภีร์เขียนไว้หรือไม่?

ความรอดนั้นได้มาโดยความเชื่อเพียงอย่างเดียว หรือโดยความเชื่อบวกกับการประพฤติ?




คำถาม: ความรอดนั้นได้มาโดยความเชื่อเพียงอย่างเดียว หรือโดยความเชื่อบวกกับการประพฤติ?

คำตอบ:
เรื่องนี้อาจจะเป็นคำถามที่สำคัญที่สุดในการศึกษาศาสนาคริสต์ คำถามนี้ก่อให้เกิดการปฏิรูปทางศาสนา นั่นคือการแยกตัวระหว่างนิกายโปรแตสแตนท์และนิกายคาทอลิค คำถามนี้เป็นกุญแจสำคัญของความแตกต่างระหว่างคริสเตียนตามพระคัมภีร์ และกลุ่ม “คริสเตียน” อื่น ๆ ความรอดนั้นได้มาโดยความเชื่อเพียงอย่างเดียว หรือโดยความเชื่อบวกกับการประพฤติ? ฉันได้รับความรอดเพียงแค่เชื่อในองค์พระเยซู หรือฉันต้องเชื่อในพระเยซูและทำบางสิ่งบางอย่างร่วมด้วย?

คำถามที่ว่า เกี่ยวกับความเชื่อเพียงอย่างเดียว หรือความเชื่อบวกการกระทำนั้น ก่อให้เกิดความยุ่งยากขึ้น เนื่องจากการพยายามหาข้อยุติของความขัดแย้งระหว่างข้อพระคัมภีร์ โรม 3:28, 5:1 กับกาลาเทีย 3:24 และพระคัมภีร์ยากอบ 2:24 บางคนเห็นความแตกต่างระหว่างเปาโล (ความรอดนั้นได้รับโดยความเชื่อเพียงอย่างเดียว) และยากอบ (ความรอดนั้นได้รับโดยความเชื่อบวกการประพฤติ) ในความเป็นจริง เปาโลและยากอบไม่ได้มีความเห็นขัดแย้งกันเลย มีเพียงประเด็นเดียวที่คนเราคิดเห็นไม่ตรงกัน คือเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อและการประพฤติ เปาโลพูดอย่างมั่นใจว่าเรารอดโดยความเชื่อแต่เพียงอย่างเดียว ( เอเฟซัส 2:8-9) ในขณะที่ยากอบกลับกล่าวว่า ความรอดนั้นโดยความเชื่อบวกการประพฤติ เราจะหาคำตอบของปัญหานี้ได้โดยการสำรวจดูว่า ที่แท้แล้วยากอบกำลังพูดถึงเรื่องอะไร ยากอบกำลังปฏิเสธความเชื่อที่ว่าบุคคลหนึ่งสามารถมีความเชื่อโดยไม่ต้องมีการประพฤติให้เกิดผลดีใด ๆ ( ยากอบ 2:17-18) ยากอบกำลังย้ำให้เห็นประเด็นที่ว่า ความเชื่อในพระคริสต์ที่แท้จริงจะส่งผลให้ชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง และประพฤติดี ( ยากอบ 2:20-26) ยากอบไม่ได้พูดว่า ความรอดได้มาโดยความเชื่อบวกกับการประพฤติ แต่เขาพูดถึงคนที่มีความเชื่อจริง ๆ ว่าคนผู้นั้นจะมีการประพฤติที่ดีในชีวิตเขาเป็นผลตามมา ถ้ามีคนอ้างว่าเป็นผู้เชื่อในพระคริสต์ แต่ไม่ได้ประพฤติดี ก็เท่ากับว่าเขาผู้นั้นไม่ได้มีความเชื่อที่แท้จริงในพระองค์ ( ยากอบ 2:14, 17, 20, 26)

เปาโลได้พูดถึงสิ่งเดียวกันนี้ในหนังสือของท่าน ผู้เชื่อควรมีผลของพระวิญญาณในชีวิต ซึ่งได้กล่าวไว้ในพระคัมภีร์ กาลาเทีย 5:22-23 ทันทีที่เปาโลบอกพวกเราว่าเราจะได้รับความรอดโดยความเชื่อ มิใช่โดยการประพฤติ ( เอเฟซัส 2:8-9) ท่านได้บอกเราว่าเราถูกสร้างขึ้นมาเพื่อประพฤติการดี ( เอเฟซัส 2:10) เปาโลคาดหวังถึงความเปลี่ยนแปลงที่ดีในชีวิตเช่นเดียวกับที่ยากอบคิด “เหตุฉะนั้นถ้าผู้ใดอยู่ในพระคริสต์ ผู้นั้นก็เป็นคนที่ถูกสร้างใหม่แล้ว สิ่งสารพัดที่เก่าๆก็ล่วงไป นี่แน่ะกลายเป็นสิ่งใหม่ทั้งนั้น!” ( 2 โครินธ์ 5:17) ยากอบและเปาโลไม่ได้มีความคิดขัดแย้งกันในการสอนเรื่องความรอด พวกเขาพูดถึงเรื่องเดียวกันแต่ในมุมมองแตกต่างกัน เปาโลย้ำในเรื่องความรอดโดยความเชื่อเท่าน้น ในขณะที่ยากอบได้เน้นถึงข้อเท็จจริงที่ว่าความเชื่อในพระคริสต์จะก่อให้เกิดการประพฤติดี





ความรอดนั้นได้มาโดยความเชื่อเพียงอย่างเดียว หรือโดยความเชื่อบวกกับการประพฤติ?

พระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นผู้ใด?




คำถาม: พระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นผู้ใด?

คำตอบ:
มีการพูดถึงพระวิญญาณบริสุทธิ์ในความหมายที่ผิดเพี้ยนไป บ้างก็ว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์คือพลังอันเร้นลับ บ้างก็เข้าใจว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์คือพลังส่วนบุคคลที่พระเจ้าทรงประทานให้กับผู้ที่ติดตามพระคริสต์ ในพระคัมภีร์ได้กล่าวถึงพระวิญญาณบริสุทธิ์ไว้ว่าอย่างไร? กล่าวอย่างตรงๆ–พระคัมภีร์บอกว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงเป็นพระเจ้า นอกจากนี้ พระคัมภีร์ยังบอกเราอีกเช่นกันว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงเป็นบุคคล มีจิตใจ ความรู้สึก และความมุ่งหมาย

ข้อเท็จจริงที่ว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงเป็นพระเจ้านั้น เห็นได้อย่างชัดเจนจากข้อพระคัมภีร์หลายข้อ รวมถึงใน กิจการ 5:3-4 ในข้อนี้เปโตรถามอนาเนียว่าทำไมเขาจึงมุสาต่อพระวิญญาณบริสุทธิ์ และได้บอกเขาอีกว่าเขา “มิได้มุสาต่อมนุษย์แต่ได้มุสาต่อพระเจ้า” ซึ่งเป็นการประกาศอย่างชัดเจนว่าการโกหกพระวิญญาณบริสุทธิ์ ก็คือการโกหกพระเจ้า และเรายังทราบได้อีกเช่นกันว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงเป็นพระเจ้า เพราะพระองค์ทรงมีพระลักษณะพระเจ้า ตัวอย่างเช่น ความจริงที่ว่า พระวิญญาณบริสุทธิ์สถิตอยู่ทุกที่ ตามที่พระคัมภีร์ สดุดี 139:7-8 เขียนว่า “ข้าพระองค์จะไปไหนให้พ้นพระวิญญาณของพระองค์ได้ หรือข้าพระองค์จะหนีไปไหนให้พ้นพระพักตร์ของพระองค์ ถ้าข้าพระองค์ขึ้นไปยังสวรรค์ พระองค์ทรงสถิตที่นั่น ถ้าข้าพระองค์จะทำที่นอนไว้ในแดนผู้ตาย พระองค์ทรงสถิตที่นั่น” และใน 1 โครินธ์ 2:10 ที่แสดงให้เราเห็นถึงพระลักษณะของความรอบรู้ของพระองค์ว่า “พระเจ้าได้ทรงสำแดงสิ่งเหล่านั้นแก่เราทางพระวิญญาณ เพราะว่าพระวิญญาณทรงหยั่งรู้ทุกสิ่งแม้เป็นความล้ำลึกของพระเจ้าอันความคิดของมนุษย์นั้นไม่มีผู้ใดหยั่งรู้ได้ เว้นแต่จิตวิญญาณของมนุษย์ผู้นั้นเองฉันใด พระดำริของพระเจ้าก็ไม่มีใครหยั่งรู้ได้ เว้นแต่พระวิญญาณของพระเจ้าฉันนั้น”

เรารู้ว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นบุคคลจริง ๆ เนื่องจากพระองค์ทรงมีจิตใจ ความรู้สึก และความมุ่งหมาย พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงดำริ และทรงทราบ (1 โครินธ์ 2:10) พระวิญญาณบริสุทธิ์เสียพระทัยได้ ( เอเฟซัส 4:30) พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงช่วยขอแทนเรา ( โรม 8:26-27) พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงตัดสินตามน้ำพระทัยของพระองค์ ( 1 โครินธ์ 12:7-11) พระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นพระเจ้า และทรงเป็น “บุคคล” ที่สามในไตรภาค ในฐานะของพระเจ้า พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงสามารถเป็นที่พักพิงและที่ปรึกษาที่พระเยซูได้ทรงสัญญากับเราไว้ ( ยอห์น 14:16,26; 15:26)





พระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นผู้ใด?

ฉันจะรู้ถึงน้ำพระทัยพระเจ้าสำหรับชีวิตของฉันได้อย่างไร? พระคัมภีร์ได้กล่าวถึงการรู้น้ำพระทัยพระเจ้าอย่างไร?




คำถาม: ฉันจะรู้ถึงน้ำพระทัยพระเจ้าสำหรับชีวิตของฉันได้อย่างไร? พระคัมภีร์ได้กล่าวถึงการรู้น้ำพระทัยพระเจ้าอย่างไร?

คำตอบ:
มีกุญแจสองดอกที่จะทำให้ทราบถึงน้ำพระทัยของพระเจ้าสำหรับแต่ละสถานการณ์คือ (1) ให้เราแน่ใจว่าสิ่งที่เราทูลขอต่อพระองค์ หรือสิ่งที่เราคิดจะทำนั้น ไม่ใช่สิ่งที่เป็นข้อห้ามในพระคัมภีร์ และ (2) ให้แน่ใจว่าสิ่งที่เราทูลขอต่อพระองค์ หรือสิ่งที่เราคิดจะทำนั้นเป็นที่ถวายเกียรติแด่พระองค์ และจะทำให้เราเจริญขึ้นในฝ่ายจิตวิญญาณ ถ้าคุณทำตามสองข้อนี้แล้วแต่พระเจ้ายังไม่ได้ทรงประทานสิ่งที่คุณขอจากพระองค์ – นั่นหมายความว่าสิ่งที่คุณขอนั้นไม่ใช่น้ำพระทัยของพระองค์ หรือ คุณอาจจำต้องรอนานขึ้นอีกนิด เพื่อจะได้สิ่งที่คุณขอนั้นมา การรู้ถึงน้ำพระทัยพระเจ้าในบางครั้งนั้นเป็นเรื่องยาก คนเรามักต้องการให้พระเจ้าบอกเราตรง ๆ ว่าจะต้องทำอะไร–จะทำงานที่ใดดี – จะอยู่ที่ไหนดี จะแต่งงานกับใคร ฯลฯ ใน โรม 12:2 บอกเราว่า “อย่าประพฤติตามอย่างคนในยุคนี้ แต่จงรับการเปลี่ยนแปลงจิตใจ แล้วอุปนิสัยของท่านจึงจะเปลี่ยนใหม่ เพื่อท่านจะได้ทราบน้ำพระทัย ของพระเจ้า จะได้รู้ว่าอะไรดี อะไรเป็นที่ชอบพระทัยและอะไรดียอดเยี่ยม”

พระเจ้าอาจจะไม่ทรงตรัสกับเราตรงๆบ้าง พระองค์ทรงให้เรามีความคิดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ เหล่านั้น มีเพียงการตัดสินใจเรื่องเดียว ที่พระเจ้าไม่ทรงประสงค์ให้เราทำ คือการตัดสินใจกระทำบาป หรือทำสิ่งที่ขัดต่อน้ำพระทัยพระองค์ พระเจ้าทรงต้องการให้เราเลือกทางที่เป็นตามน้ำพระทัยของพระองค์ ดังนั้น คุณควรจะทราบถึงน้ำพระทัยของพระองค์ได้อย่างไร? ก็เมื่อคุณได้เดินติดตามพระองค์อย่างใกล้ชิด และปรารถนาที่จะทำให้ชีวิตของคุณเป็นที่พอพระทัยของพระองค์ – พระองค์จะทรงใส่ความปรารถนาของพระองค์ลงไปในจิตใจของคุณ กุญแจสำคัญคือหัวใจ... หัวใจที่ต้องการเชื่อฟังน้ำพระทัยของพระเจ้า – ไม่ใช่ความต้องการของตัวคุณเอง “จงปีติยินดีในพระเจ้า และพระองค์จะทรงประทานตามใจปรารถนาของท่าน” ( สดุดี 37:4) ถ้าสิ่งนั้นไม่ขัดกับพระคัมภีร์ และเป็นสิ่งที่ส่งผลดีต่อจิตวิญญาณของคุณ นั่นหมายความว่า พระคัมภีร์ “อนุญาต” ให้คุณตัดสินใจที่จะกระทำสิ่งนั้น ๆ และทำตามหัวใจคุณได้





ฉันจะรู้ถึงน้ำพระทัยพระเจ้าสำหรับชีวิตของฉันได้อย่างไร? พระคัมภีร์ได้กล่าวถึงการรู้น้ำพระทัยพระเจ้าอย่างไร?

ฉันจะเอาชนะความบาปในชีวิตคริสเตียนของฉันได้อย่างไร?




คำถาม: ฉันจะเอาชนะความบาปในชีวิตคริสเตียนของฉันได้อย่างไร?

คำตอบ:
พระคัมภีร์พูดถึงเครื่องมือดังต่อไปนี้ ที่เราจะใช้เพื่อเอาชนะความบาปของเราได้ดังต่อไปนี้:

(1) พระวิญญาณบริสุทธิ์ – ของขวัญอย่างหนึ่งที่พระเจ้าทรงประทานให้เรา (คริสตจักรของพระองค์) เพื่อให้มีชัยชนะในการใช้ชีวิตคริสเตียนคือพระวิญญาณบริสุทธิ์ พระเจ้าทรงเปรียบเทียบผลทางฝ่ายเนื้อหนังกับผลของพระวิญญาณบริสุทธิ์ไว้ใน BB. กาลาเทีย 5:16-25 ซึ่งในบทนั้น เราได้ถูกเรียกให้ดำเนินชีวิตตามพระวิญญาณ ผู้เชื่อทุกคนมีพระวิญญาณบริสุทธิ์อยู่ด้วยแล้ว แต่ในบทนี้ได้บอกว่า เราจำเป็นต้องดำเนินตามพระวิญญาณ ให้พระองค์ครอบครองชีวิตเรา นี่หมายความว่าให้เราเลือกที่จะ “สวมรองเท้าหนัง” ให้การทำงานของพระวิญญาณบริสุทธิ์ในชีวิตของเรามากกว่าที่จะเลือกตามฝ่ายเนื้อหนัง

ความแตกต่างที่พระวิญญาณบริสุทธิ์สามารถกระทำในชีวิตของผู้เชื่อได้ก็คือ การสำแดงให้เห็นถึงชีวิตของ เปโตร ซึ่งก่อนที่ชีวิตเปโตรจะมีพระวิญญาณบริสุทธิ์ เขาปฏิเสธพระเยซูถึงสามครั้ง หลังจากที่เขาบอกว่าเขาจะติดตามองค์พระคริสต์จนสิ้นชีวิต แต่หลังจากที่ชีวิตเขาได้รับพระวิญญาณแล้ว เขาได้พูดต่อสาธารณชนชาติยิวอย่างเปิดเผย และอย่างเข้มแข็งถึงการฟื้นคืนพระชนม์ของพระผู้ช่วยให้รอด

คนที่ดำเนินตามพระวิญญาณ และพยายามที่จะไม่ “ปิด” การทรงนำของพระวิญญาณ (“ดับพระวิญญาณ”) ตามที่เขียนไว้ใน (1 เธสะโลนิกา 5:19) และแสวงหาการทรงสถิตอยู่ของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ( เอเฟซัส 5:18-21) คนคนหนึ่งจะมีพระวิญญาณบริสุทธิ์ได้อย่างไร? อันดับแรกคือ เป็นการทรงเลือกของพระเจ้า แม้กระทั่งในพันธสัญญาเดิม พระองค์ทรงเลือกเฉพาะคน และเฉพาะเหตุการณ์ในพันธสัญญาเดิมเพื่อกระทำให้คนที่พระองค์ทรงเลือกนั้นทำกิจการของพระองค์ได้สำเร็จ ( ปฐมกาล 41:38; อพยพ 31:3; เลวีนิติ 24:2; 1 ซามูเอล 10:10; ฯลฯ) ข้าพเจ้าเชื่อว่ามีเหตุการณ์ที่กล่าวถึงใน เอเฟซัส 5:18-21 และโคโลสี 3:16 ว่าพระเจ้าทรงเจิมพระวิญญาณให้กับคนที่เติมชีวิตของเขาด้วยพระคำของพระเจ้า ซึ่งมีหลักฐานจากข้อเท็จจริงที่ว่าผลของการเจิมพระวิญญาณที่ได้กล่าวถึงในข้อพระคัมภีร์ต่าง ๆ นั้นเหมือนกัน ดังนั้น สิ่งนี้จึงได้นำเรามาสู่แหล่งต่อไปที่จะเอาชนะความบาปได้

(2) พระวจนะคำของพระเจ้า - 2 ทิโมธี 3:16-17 กล่าวว่า พระเจ้าได้ทรงประทานพระวจนะคำของพระองค์เพื่อให้เรามีทิศทางในการทำการดี พระวจนะคำของพระองค์นั้นสอนให้เราทราบว่าจะใช้ชีวิตอย่างไร ให้เชื่อในสิ่งใด และยังสำแดงให้เราทราบว่าเมื่อเราเดินหลงทาง นอกจากนี้พระวจนะคำของพระองค์ยังช่วยให้เรากลับมาเดินในทางที่ถูกต้อง และให้เราดำเนินอยู่ในเส้นทางนั้นต่อไป เช่นที่กล่าวไว้ในพระธรรม ฮีบรู 4:12 กล่าวว่า พระวจนะของพระเจ้านั้นไม่ตายและทรงพลานุภาพอยู่เสมอ คมยิ่งกว่าดาบสองคมใดๆ แทงทะลุกระทั่งจิตและวิญญาณ ตลอดข้อกระดูกและไขในกระดูก และสามารถวินิจฉัยความคิดและความมุ่งหมายในใจด้วย ในพระธรรมสดุดีได้พูดถึงพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงชีวิตของพระวจนะคำของพระเจ้าไว้ใน สดุดี 119:9 ข้อ 11 ข้อ 105 และข้ออื่น ๆ โยชูวาได้รับการแจ้งว่า กุญแจสำคัญของความสำเร็จในการมีชัยชนะเหนือศัตรู (เปรียบกับการต่อสู้ฝ่ายจิตวิญญาณ) คือ ไม่ลืมพระวจนะคำของพระองค์ แต่ให้ใช้พระวจนะคำทุกวันทุกคืน เพื่อที่เขาจะได้พบและสังเกตุเห็นได้เมื่อเขาทำดังนั้น แม้กระทั่งเมื่อทำในสิ่งที่พระเจ้าทรงสั่งเขา ซึ่งเป็นสิ่งที่ดูไม่สมเหตุสมผลในทางการรบ แต่นี่คือกุญแจแห่งชัยชนะในการรบของเขาเพื่อให้ได้มาซึ่งดินแดนแห่งพันธสัญญา

พระวจนะคำของพระเจ้า เป็นสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญไม่ใช่เพียงเล็กน้อย เราอาจนำพระคัมภีร์ไปโบสถ์เพื่อใช้ในพิธีนมัสการ เราอ่านบทเรียนจากพระคัมภีร์ประจำวัน หรืออ่านพระคัมภีร์วันละบท แต่เราไม่ได้จดจำไว้ ไม่ได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน หรือไม่ได้สารภาพบาปที่พระวจนะคำของพระองค์แสดงให้เราเห็น หรือไม่ได้สรรเสริญพระเจ้าสำหรับพระพรที่พระวจนะคำของพระองค์สำแดงให้เราเห็นว่าพระองค์ทรงประทานให้เราอย่างไร เมื่อเราพูดถึงพระคัมภีร์ หากเปรียบเป็นอาหาร เราไม่ควรละเลย หรือทานเพียงเล็กน้อย เราควรรับพระวจนะคำของพระองค์ให้มากเพียงพอที่จะทำให้เรามีชีวิตอยู่ในฝ่ายจิตวิญญาณ โดยเฉพาะการรับพระวจนะคำเวลาเราไปโบสถ์ (ควรรับเข้าไปให้มากพอที่จะทำให้ร่างกายแข็งแรง เพื่อเป็นคริสเตียนที่เติบโตขึ้น) หรือหาโอกาศให้เราได้รับอาหารฝ่ายจิตวิญญาณบ่อยๆ และใคร่ครวญคิดอย่างลึกซึ้งเพื่อให้ฝ่ายจิตวิญญาณได้ย่อยอาหารจากพระวจนะคำมากขึ้น

เป็นเรื่องสำคัญหากคุณยังไม่เริ่มสร้างวินัยในการศึกษาความหมายของพระวจนะคำของพระเจ้า ให้เป็นชีวิตประจำวันของเราทุกวัน และเพื่อจะจดจำพระวจนะคำนั้นไว้เวลาที่คุณพบข้อความใดก็ตามที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ดลใจให้เข้าถึงจิตใจคุณ ให้ทำอย่างนี้จนเป็นนิสัย เราขอแนะนำให้คุณเริ่มเขียนบันทึกประจำวัน (อาจจะพิมพ์ลงคอมพิวเตอร์ถ้าคุณพิมพ์ได้เร็วกว่าเขียน) หรือเขียนลงในสมุดบันทึก ฯลฯ ให้ฝึกเป็นนิสัยคุณจะได้ไม่ละเลยพระวจนะคำนั้นจนกว่าคุณจะได้บันทึกสิ่งที่คุณได้จากพระวจนะคำนั้น ๆ ข้าพเจ้ามักจะบันทึกคำอธิษฐานที่ขอให้พระองค์ทรงช่วยเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่พระองค์ได้ตรัสกับข้าพเจ้า พระคัมภีร์จึงเปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ใช้นำในชีวิตของพวกเราและชีวิตของผู้อื่น ( เอเฟซัส 6:17) และเป็นเครื่องมือที่จำเป็นและส่วนประกอบสำคัญของอาวุธที่พระเจ้าทรงประทานให้เราเพื่อต่อสู้ในฝ่ายจิตวิญญาณ ( เอเฟซัส 6:12-18)!

(3) การอธิษฐาน – นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่พระเจ้าทรงประทานให้ เป็นอีกอย่างที่คริสเตียนมักจะเพียงแค่พูดออกไป แต่ไม่ได้ใช้อย่างเหมาะสม เรามีประชุมการอธิษฐานและเวลาอธิษฐาน ฯลฯ แต่เราแสวงหาประโยชน์จากสิ่งนี้เหมือนอย่างที่คริสตจักรในสมัยแรกได้เริ่มต้น ตัวอย่าง ( กิจการ 3:1; 4:31; 6:4; 13:1-3, ฯลฯ) อัครสาวกเปาโลได้กล่าวย้ำอยู่เสมอว่า ท่านได้อธิษฐานเผื่อผู้คนที่ท่านต้องดูแลอย่างไร แต่เรากลับไม่ได้ใช้สิ่งที่เรามีนี้ พระเจ้าได้ให้คำสัญญาอันแสนวิเศษเกี่ยวกับการอธิษฐาน และอีกครั้งที่เปาโลได้กล่าวเรื่องการอธิษฐานในข้อความของท่านเรื่องการเตรียมการสู้รบฝ่ายจิตวิญญาณ ( เอเฟซัส 6:18)!

การอธิษฐานมีความสำคัญมากเพียงใด? เมื่อคุณมองดูชีวิตของเปโตรอีกครั้ง คุณจะได้พบกับพระวจนะคำของพระเจ้าที่ตรัสกับเปโตรในสวนเก็ธเซมาเนก่อนเปโตรจะปฏิเสธพระเยซู ซึ่งณ.ที่นั่น ในขณะที่พระเยซูกำลังอธิษฐานอยู่ เปโตรก็กำลังนอนหลับ พระเยซูทรงปลุกเขาให้ตื่นขึ้นและตรัสว่า “ท่านทั้งหลายจงเฝ้าระวังและอธิษฐาน เพื่อท่านจะไม่ต้องถูกทดลอง จิตวิญญาณพร้อมแล้วก็จริง แต่กายยังอ่อนกำลัง" ( มัทธิว 26:41) คุณก็เช่นกัน เหมือนเช่นเปโตร ต้องการทำสิ่งที่ถูกต้อง แต่ไม่เสาะหาความเข้มแข็ง เราต้องทำตามคำตักเตือนของพระเจ้าในการแสวงหา จดจ่อ และขอ.... อย่าหยุด แล้วพระองค์จะทรงประทานกำลังความเข้มแข็งตามที่เราต้องการ ( มัทธิว 7:7) แต่เราจำเป็นต้องให้มากกว่าการที่พูดออกไป

ข้าพเจ้าไม่ได้พูดว่า การอธิษฐานเป็นเวทย์มนต์ ไม่ใช่เลย พระเจ้าทรงยิ่งใหญ่นัก การอธิษฐานเป็นเพียงการยอมรับข้อจำกัดของเราและยอมรับฤทธิ์อำนาจอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้า และให้เราหันมาหาพระองค์เพื่อขอความเข้มแข็งให้เราทำในสิ่งที่พระองค์ประสงค์ให้เราทำ (ไม่ใช่สิ่งที่ เรา ต้องการทำเอง) (1 ยอห์น 5:14-15)

(4) คริสตจักร – สำหรับเรื่องสุดท้ายนี้ก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่มีแนวโน้มว่าเราจะละเลยอยู่เสมอ เมื่อพระเยซูทรงสั่งให้เหล่าสาวกออกประกาศ พระองค์ทรงส่งพวกเขาออกไปเป็นคู่ (มัทธิว 10:1) เมื่อเราอ่านเรื่องการเดินทางประกาศในพระคัมภีร์กิจการ พวกเขาไม่ได้ออกไปทีละคน แต่ออกไปเป็นกลุ่มสองคน หรือมากกว่านั้น พระเยซูตรัสว่า หากมีคนสองหรือสามคนรวมตัวกันในนามของพระองค์ พระองค์จะทรงสถิตอยู่ท่ามกลางพวกเขา ( มัทธิว 18:20) พระองค์ทรงสั่งให้เราอย่าขาดการประชุมเหมือนอย่างบางคนที่ขาดอยู่ แต่ให้ใช้เวลานั้นปลุกใจซึ่งกันและกันให้มีความรักและทำความดี ( ฮีบรู 10:24-25) พระองค์ทรงบอกให้เราสารภาพผิดต่อกันและกัน ( ยากอบ 5:16) ในข้อเขียนอันเปี่ยมด้วยปัญญาในพระคัมภีร์เดิม บอกว่า ให้เราเป็นเหมือนเหล็กลับเหล็กได้ คนหนึ่งก็ลับเพื่อนของตนได้ ( สุภาษิต 27:17) “เชือกสามเกลียวจะขาดง่ายก็หามิได้” ยิ่งจำนวนมากยิ่งเข้มแข็งขึ้น ( ปัญญาจารย์ 4:11-12)

มีบางคนที่ข้าพเจ้ารู้จักได้พบพี่น้องในพระคริสต์ ซึ่งรวมตัวกันทางโทรศัพท์ หรือพบปะกันส่วนตัว หรือแบ่งปันถึงสิ่งที่พวกเขากระทำกันในการดำเนินชีวิตคริสเตียนว่า พวกเขาได้ดิ้นรนต่อสู้มาอย่างไร ฯลฯ และให้คำมั่นที่จะอธิษฐานเผื่อซึ่งกันและกัน และพยุงกันและกันในการมีสายสัมพันธ์ที่ดำเนินตามพระคำของพระเจ้า ฯลฯ

บางครั้ง การเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว บางครั้งก็มีการเปลี่ยนแปลงในบางเรื่องอย่างช้า ๆ และพระเจ้าได้ทรงสัญญากับเราไว้ว่า เมื่อเราใช้ทุกเรื่องที่พระองค์ทรงประทานให้ พระองค์จะทรงนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่ขีวิตเรา หากเราแสวงหา เราก็จะรู้ว่าพระองค์ทรงสัตย์ซื่อกับพระสัญญาของพระองค์เสมอ!





ฉันจะเอาชนะความบาปในชีวิตคริสเตียนของฉันได้อย่างไร?

ทำไมเราจึงไม่ควรฆ่าตัวตาย?




คำถาม: ทำไมเราจึงไม่ควรฆ่าตัวตาย?

คำตอบ:
จิตใจของข้าพเจ้าห่วงหาบรรดาคนที่คิดที่จะจบชีวิตของตัวเองโดยการฆ่าตัวตาย ถ้าคุณเป็นหนึ่งในนั้น จิตใจของคุณอาจจะเต็มไปด้วยอารมณ์ต่าง ๆ เช่น ความรู้สึกสิ้นหวังและท้อแท้ คุณอาจจะรู้สึกเหมือนอยู่ในหลุมลึก และสงสัยว่าจะมีแสงแห่งความหวังที่จะช่วยให้สิ่งต่าง ๆ นั้นดีขึ้นหรือไม่ ไม่มีใครห่วงใยหรือเข้าใจคุณเลย ชีวิตนี้ช่างไม่น่าอยู่เอาเสียเลย.... ใช่หรือไม่?

อารมณ์ที่บั่นทอนนี้เกิดขึ้นได้กับหลาย ๆ คนในบางช่วงเวลา เมื่อข้าพเจ้ามีความรู้สึกตกต่ำนั้น จะมีคำถามขึ้นมาในใจว่า “นี่หรือคือน้ำพระทัยของพระเจ้าผู้ทรงสร้างฉันขึ้นมา?" "พระเจ้านั้นเล็กเกินกว่าจะช่วยฉันได้หรือ?" “ปัญหาของฉันใหญ่เกินไปสำหรับพระองค์หรือ?"

ข้าพเจ้ายินดีจะบอกคุณว่า ถ้าคุณใช้เวลาเพียงสักนิด คิดใคร่ครวญให้พระเจ้าเข้ามาเป็นพระเจ้าจริง ๆ ในชีวิตคุณตั้งแต่บัดนี้ พระองค์จะทรงสำแดงให้คุณรู้ว่าพระองค์ทรงยิ่งใหญ่เพียงใด! "เพราะว่าไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งพระเจ้าทรงกระทำไม่ได้" (ลูกา 1:37) บางที รอยแผลเป็นจากอดีตอันแสนเจ็บปวด อาจจะมีผลมาจากความรู้สึกที่เต็มไปด้วยการถูกปฏิเสธ หรือถูกทอดทิ้ง ซึ่งจะนำไปสู่ความรู้สึกสงสารตัวเอง โกรธ ขมขื่น ต้องการหาทางแก้แค้น หวาดกลัว ฯลฯ และจะส่งผลต่อความสัมพันธ์ที่สำคัญที่สุดของคุณให้มีปัญหาตามมา อย่างไรก็ตาม การฆ่าตัวตายเป็นเพียงการทำให้คนที่คุณรักเจ็บปวดโดยที่คุณไม่ได้ตั้งใจจะทำให้เขาเจ็บเลย และนั่นจะเป็นรอยแผลเป็นทางอารมณ์ที่พวกเขาจะต้องทนอยู่กับมันตลอดชั่วชีวิต

ทำไมฉันจึงไม่ควรฆ่าตัวตาย? เพื่อนเอ๋ย ไม่ว่าชีวิตคุณจะเลวร้ายอย่างไร ยังมีพระเจ้าแห่งความรักกำลังรอคอยคุณอยู่ เพียงคุณอนุญาตให้พระองค์เข้ามานำชีวิตคุณให้ผ่านอุโมงค์แห่งความสิ้นหวัง และนำคุณไปสู่ทางแห่งความสว่างอันบรรเจิดได้ พระองค์ทรงเป็นความหวังที่แน่นอนของคุณ นามพระองค์นั้นคือ พระเยซูคริสต์

พระเยซูองค์นี้แหละ เป็นบุตรของพระเจ้าผู้ทรงปราศจากบาป และจะอยู่กับคุณ ในเวลาที่คุณถูกปฏิเสธและได้รับการดูหมิ่น ผู้พยากรณ์อิสยาห์ ได้เขียนถึงพระองค์ว่า “เพราะท่านได้เจริญขึ้นต่อพระพักตร์พระองค์อย่างต้นไม้อ่อน และเหมือนรากแตกหน่อมาจากพื้นดินแห้ง ท่านไม่มีรูปร่างหรือความสวยงาม ซึ่งเราทั้งหลายจะมองท่าน และไม่มีความงามที่เราจะพึงปรารถนาท่าน ท่านได้ถูกมนุษย์ดูหมิ่นและทอดทิ้ง เป็นคนที่รับความเจ็บปวด และคุ้นเคยกับความเจ็บไข้ และดังผู้หนึ่งซึ่งคนทนมองดูไม่ได้ ท่านถูกดูหมิ่น และเราทั้งหลายไม่ได้นับถือท่าน แน่ทีเดียวท่านได้แบกความเจ็บไข้ของเราทั้งหลาย และหอบความเจ็บปวดของเราไป กระนั้นเราทั้งหลายก็ยังถือว่าท่านถูกตี คือพระเจ้าทรงโบยตีและข่มใจ แต่ท่านถูกบาดเจ็บเพราะความทรยศของเราทั้งหลาย ท่านฟกช้ำเพราะความบาปผิดของเรา การตีสอนอันทำให้เราทั้งหลายสมบูรณ์นั้น ตกแก่ท่าน ที่ท่านต้องฟกช้ำนั้นก็ให้เราหายดี เราทุกคนได้เจิ่นไปเหมือนแกะ เราทุกคนต่างได้หันไปตามทางของตนเอง และพระเจ้าทรงวางลงบนท่านซึ่งความบาปผิดของเราทุกคน” ( อิสยาห์ 53:2-6)

เพื่อนเอ๋ย พระเยซูทรงทนทุกข์กับการเหล่านี้ก็เพื่อบาปของคุณจะได้รับการยกโทษ! ไม่ว่าความผิดที่คุณแบกรับอยู่ จะหนักหนาสาหัสเพียงใด เพียงขอให้คุณรู้ว่าพระองค์จะทรงอภัยให้คุณ เพียงแค่คุณกลับใจใหม่อย่างถ่อมสุภาพ (หันหลังจากความบาป และหันหน้าหาพระเจ้า) “และจงร้องทูลเราในวันทุกข์ยากลำบาก เราจะช่วยกู้เจ้า และเจ้าจะถวายพระสิริแก่เรา” ( สดุดี 50:15) ไม่มีอะไรที่คุณเคยทำจะเลวร้ายเกินกว่าพระเยซูจะยกโทษให้ไม่ได้ ผู้รับใช้บางท่านที่พระองค์ทรงเลือกในพระคัมภีร์ ก็เป็นคนที่เคยกระทำบาปอย่างมหันต์ เช่น ฆ่าคน (โมเสส) มีชู้ (กษัตริย์ดาวิด) ทำร้ายร่างกายและจิตใจผู้อื่น (อัครทูตเปาโล) แต่พวกเขาก็ยังได้รับการให้อภัยและได้รับชีวิตใหม่ อันสมบูรณ์ในองค์พระผู้เป็นเจ้า “ขอทรงล้างข้าพระองค์จากความบาปผิดให้หมดสิ้น และทรงชำระข้าพระองค์จากบาปของข้าพระองค์” ( สดุดี 51:2). "เหตุฉะนั้นถ้าผู้ใดอยู่ในพระคริสต์ ผู้นั้นก็เป็นคนที่ถูกสร้างใหม่แล้ว สิ่งสารพัดที่เก่าๆก็ล่วงไป นี่แน่ะกลายเป็นสิ่งใหม่ทั้งนั้น" (2 โครินธ์ 5:17).

ทำไมคุณจึงไม่ควรฆ่าตัวตาย? เพื่อนเอ๋ย พระเจ้าพร้อมเสมอที่จะซ่อมแซมสิ่งที่ “แตกหัก” ... หากคุณคิดว่าชีวิตที่คุณมีอยู่ในตอนนี้ คุณอยากจะจบชีวิตโดยการฆ่าตัวตาย ผู้พยากรณ์อิสยาห์ได้เขียนไว้ว่า “พระวิญญาณแห่งพระเจ้าทรงอยู่เหนือข้าพเจ้า เพราะว่าพระเจ้าได้ทรงเจิมข้าพเจ้าไว้ เพื่อนำข่าวดีมายังผู้ที่ทุกข์ใจ พระองค์ทรงใช้ข้าพเจ้ามาให้เล้าโลมคนที่ชอกช้ำระกำใจ และร้องประกาศอิสรภาพแก่บรรดาเชลย และบอกการเปิดเรือนจำออกให้แก่ผู้ที่ถูกจำจอง หรือ การเบิกตา แต่ฮีบรูว่า การเปิด เพื่อประกาศปีแห่งความโปรดปรานของพระเจ้า และวันแห่งการแก้แค้นของ พระเจ้าของเรา เพื่อเล้าโลมบรรดาผู้ที่ไว้ทุกข์ เพื่อจัดให้บรรดาผู้ที่ไว้ทุกข์ในศิโยน เพื่อประทานมาลัยแทนขี้เถ้าให้เขา น้ำมันแห่งความยินดีแทนการไว้ทุกข์ ผ้าห่มแห่งการสรรเสริญแทนจิตใจที่ท้อถอย เพื่อคนจะเรียกเขาว่าต้นก่อหลวงแห่งความชอบธรรม ที่ซึ่งพระเจ้าทรงปลูกไว้เพื่อพระองค์จะทรงสำแดงพระสิริของพระองค์” ( อิสยาห์ 61:1-3)

โปรดเข้ามาหาพระเยซู และให้พระองค์ฟื้นฟูความชื่นชมยินดีให้คุณ และคุณจะมีชีวิตที่ใช้การได้เมื่อคุณได้ไว้วางใจในพระองค์ และให้พระองค์ทรงเริ่มต้นทำงานใหม่ในชีวิตของคุณ “ขอทรงคืนความชื่นบานในความรอดแก่ข้าพระองค์ และชูข้าพระองค์ไว้ด้วยเต็มพระทัย” “ข้าแต่องค์พระผู้เป็นเจ้า ขอทรงเบิก ริมฝีปากของข้าพระองค์ และปากของข้าพระองค์จะสำแดงการสรรเสริญพระองค์ เพราะพระองค์มิได้ทรงปีติยินดีในเครื่องสัตวบูชา ถึงข้าพระองค์จะถวายเครื่องเผาบูชา พระองค์จะมิได้พอพระทัย เครื่องบูชาที่พระเจ้าทรงรับได้คือจิตใจที่ชอกช้ำ จิตใจที่สำนึกผิดและชอกช้ำนั้น ข้าแต่พระเจ้า พระองค์มิได้ทรงดูถูก” ( สดุดี 51:12, 15-17)

คุณจะรับพระเจ้าเข้ามาเป็นพระผู้ช่วยให้รอดและผู้เลี้ยงดูของคุณหรือไม่? พระองค์พร้อมที่จะทรงให้ความคิดและย่างก้าวของคุณในแต่ละวัน อย่างที่เขียนไว้ในพระคำของพระองค์ว่า “เราจะแนะนำและสอนเจ้าถึงทางที่เจ้าควรจะเดินไป เราจะให้คำปรึกษาแก่เจ้า ด้วยจับตาเจ้าอยู่” ( สดุดี 32:8). "และพระองค์จะทรงเป็นเสถียรภาพแห่งเวลาของเจ้า ทรงเป็นความรอด สติปัญญา และความรู้อันอุดม ความยำเกรงพระเจ้าเป็นทรัพย์สมบัติของเขา” ( อิสยาห์ 33:6) ในพระคริสต์ แม้คุณจะยังคงต้องดิ้นรนในชีวิต แต่ตอนนี้คุณจะมี ความหวัง พระองค์คือ “มีเพื่อนที่แสร้งทำเป็นเพื่อน แต่มีมิตรบางคนที่ใกล้ชิดยิ่งกว่าพี่น้อง” ( สดุดี 18:24) ขอให้พระคุณขององค์พระเยซูคริสต์เจ้าอยู่กับคุณในช่วงเวลาแห่งการตัดสินใจของคุณ

ถ้าคุณปรารถนาจะไว้วางใจในพระเยซูคริสต์ให้เป็นพระผู้ช่วยให้รอดของคุณ ให้กล่าวถ้อยคำดังนี้ในใจ ต่อพระเจ้าว่า “ข้าแต่พระบิดาเจ้า ข้าพเจ้าต้องการพระองค์ในชีวิตของข้าพเจ้า โปรดยกโทษให้ข้าพเจ้าสำหรับทุกสิ่งที่ข้าพเจ้าได้กระทำลงไป ข้าพเจ้าขอมอบความเชื่อไว้วางใจในองค์พระเยซูคริสต์ และข้าพเจ้าเชื่อว่าพระองค์เป็นพระผู้ช่วยให้รอดของข้าพเจ้า โปรดชำระล้างข้าพเจ้าให้สะอาด โปรดรักษาข้าพเจ้า และฟื้นฟูความชื่นชมยินดีในชีวิตของข้าพเจ้า ขอขอบพระคุณสำหรับความรักที่พระองค์ทรงมีต่อข้าพเจ้า และสำหรับการยอมวายพระชนม์ของพระเยซูเพื่อข้าพเจ้าจะได้ชีวิตนิรันดร์" ขออธิษฐานขอบพระคุณในนามพระเยซูคริสต์เจ้า เอเมน.

คุณได้ตัดสินใจเชื่อพระเจ้าเพราะสิ่งที่คุณได้อ่านพบจากที่นี่ใช่หรือไม่? ถ้าใช่.. กรุณาคลิกปุ่ม “ฉันได้รับพระคริสต์เข้ามาในชีวิตตั้งแต่วันนี้”




ทำไมเราจึงไม่ควรฆ่าตัวตาย?